ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ

๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการฉันของเคี้ยวของฉันเมื่อห้ามภัตตาหารแล้ว
เรื่องภิกษุณีฉันหลายที่ในมื้อเดียวกัน
[๑๐๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุณี ทั้งหลายให้ฉัน พวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว พากันไปตระกูลญาติ ภิกษุณีบางพวกยังฉันอีก บางพวกนำบิณฑบาตกลับไป ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นได้กล่าวกับเพื่อนบ้านดังนี้ว่า “นายทั้งหลาย เราเลี้ยงภิกษุณีให้อิ่มหนำแล้ว เชิญมาเถิด เราจักเลี้ยงพวกท่านให้อิ่มหนำบ้าง” เพื่อนบ้านผู้คุ้นเคยเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “นายท่านจะเลี้ยงพวกเราให้อิ่มได้ อย่างไร แม้พวกภิกษุณีที่ท่านนิมนต์แล้วก็ยังต้องไปที่เรือนพวกเรา บางพวกยังฉัน อีก บางพวกก็นำบิณฑบาตกลับไป” พราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉันที่เรือนเรา แล้วยังไปฉันที่อื่นอีกเล่า เราไม่สามารถที่จะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้าม ภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีก” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้าม ภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๗๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีกเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๓๘] ก็ภิกษุณีใดได้รับนิมนต์แล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของ เคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉันหลายที่ในมื้อเดียวกัน จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๓๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์แล้ว คือ ได้รับนิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ ชนิด อย่างใด อย่างหนึ่ง
ลักษณะการบอกห้ามภัตตาหาร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหารแล้ว คือ (๑) ภิกษุณีกำลังฉัน (๒) ทายกนำ โภชนะมาถวาย (๓) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (๔) ภิกษุณีบอกห้าม ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ข้าวต้ม ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก๑- นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถ พระวินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๒๓๙ หน้า ๓๙๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๗๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร

ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๔๐] ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าได้รับนิมนต์แล้ว เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้รับนิมนต์ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉัน ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ภิกษุณีรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๐๔๑] ๑. ภิกษุณีที่ทายกไม่ได้นิมนต์ ๒. ภิกษุณียังไม่ห้ามภัตตาหาร ๓. ภิกษุณีดื่มข้าวต้ม ๔. ภิกษุณีบอกเจ้าของแล้วฉัน ๕. ภิกษุณีฉันของที่เป็นยาวกาลิก สัตตาหกาลิกและยาวชีวิกเมื่อมี เหตุผลจำเป็น ๖. ภิกษุณีวิกลจริต ๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๗๔-๒๗๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=82              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=4618&Z=4672                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=342              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=342&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11689              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=342&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11689                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.342 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc54/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc54/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :