ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

๕. จิตตาคารวรรค
หมวดว่าด้วยหอจิตรกรรม
สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการไปดูโรงละครหลวง
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๙๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ที่พระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีการแสดงภาพจิตรกรรม ณ หอจิตรกรรม ครั้งนั้น คนทั้งหลายพากันไปดู หอจิตรกรรม แม้พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ก็ไปดูหอจิตรกรรม คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงไปดูหอจิตรกรรมเหมือนหญิงคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกามเล่า” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงไปดูหอ จิตรกรรมเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปดูหอ จิตรกรรม จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึง ไปดูหอจิตรกรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๓๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๙๗๘] ก็ภิกษุณีใดไปดูโรงละครหลวง หอจิตรกรรม สวนสาธารณะ อุทยาน หรือสระโบกขรณี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๗๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า โรงละครหลวง ได้แก่ สถานที่ที่เขาสร้างขึ้นไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อ ถวายพระราชาทรงกีฬา เพื่อให้ทรงสำราญพระทัย ที่ชื่อว่า หอจิตรกรรม ได้แก่ หอที่สร้างขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้คนทั้งหลาย ชมเล่น รื่นเริง ที่ชื่อว่า สวนสาธารณะ ได้แก่ สวนที่สร้างขึ้นให้คนทั้งหลายชมเล่น รื่นเริง ที่ชื่อว่า อุทยาน ได้แก่ อุทยานที่สร้างขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้คนทั้งหลาย ชมเล่น รื่นเริง ที่ชื่อว่า สระโบกขรณี ได้แก่ สระน้ำที่ขุดไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้คนทั้งหลาย ชมเล่น รื่นเริง [๙๘๐] ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนดู ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑- พ้นสายตาไปแล้วเหลียวกลับมาดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินเพื่อจะไปดูแต่ละแห่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนดู ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้วเหลียวกลับมาดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ ยืนอยู่ในที่แห่งเดียว มองดูสถานที่ทั้ง ๕ แห่งมีโรงละครหลวงเป็นต้น โดยไม่ก้าวเดินไปไหน ต้องอาบัติ @ปาจิตตีย์ ๑ ตัว ถ้าหันไปมองดูสถานที่เหล่านั้นซึ่งตั้งอยู่ในที่ต่างๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ตามจำนวนสถาน @ที่มองดู (วิ.อ. ๒/๙๗๘/๕๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๓๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๘๑] ๑. ภิกษุณียืนอยู่ที่สวนสาธารณะมองเห็น ๒. ภิกษุณีเดินไปเดินมามองเห็น ๓. ภิกษุณีมีธุระเดินไปเห็น ๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๕. ภิกษุณีวิกลจริต ๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๔๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๓๘-๒๔๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=69              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=4062&Z=4103                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=295              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=295&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11591              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=295&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11591                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.295 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc41/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc41/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :