ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ

๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการไม่หลีกจาริกไป
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๙๗๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกภิกษุณีอยู่จำพรรษาในเมือง ราชคฤห์นั่นแหละตลอดฤดูฝน อยู่ในเมืองราชคฤห์นั้นตลอดฤดูหนาว อยู่ในเมือง ราชคฤห์นั้นตลอดฤดูร้อน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทิศทั้งหลาย คงคับแคบมืดมนสำหรับภิกษุณี ภิกษุณีเหล่านี้จึงมองไม่เห็นทิศทาง” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ฯลฯ ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุณีทั้งหลายพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๓๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร

พระบัญญัติ
[๙๗๔] ก็ภิกษุณีใดจำพรรษาแล้ว ไม่หลีกจาริกไป โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ ทาง ๕-๖ โยชน์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑-
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๗๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า จำพรรษาแล้ว คือ อยู่จำพรรษาต้น ๓ เดือน หรือตลอด พรรษาหลัง ๓ เดือน พอทอดธุระว่า “เราจะไม่หลีกจาริกไปโดยที่สุดแม้สิ้นระยะ ทาง ๕-๖ โยชน์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๗๖] ๑. ภิกษุณีไม่จาริกไปเมื่อมีอันตราย ๒. ภิกษุณีแสวงหาภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนไม่ได้ ๓. ภิกษุณีเป็นไข้ ๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๕. ภิกษุณีวิกลจริต ๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ตุวัฏฏวรรคที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ภิกษุณีออกพรรษาแล้ว เดินทางไปได้เพียง ๓ โยชน์แล้วกลับสำนักเดิมโดยใช้เส้นทางใหม่ นับว่าได้หลีก @จาริกไปสิ้นระยะทาง ๖ โยชน์ (กงฺขา.อ. ๓๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๓๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๓๖-๒๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=68              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=4029&Z=4061                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=292              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=292&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11580              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=292&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11580                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.292 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc40/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc40/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :