ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ

๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของภิกษุณี ถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้า ถ้าพวกเราสามารถ ก็จะ ถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์” ครั้นภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษาแล้วประชุมกันด้วยประสงค์ จะแจกจีวร ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย โปรดรอก่อน ภิกษุณีสงฆ์มีความหวังในจีวร” ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้า เชิญท่านไป สืบดูจีวรนั้นให้รู้เรื่อง” ภิกษุณีถุลลนันทาเข้าไปถึงตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับคนเหล่านั้นดังนี้ ว่า “ท่านทั้งหลายจงถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์” คนเหล่านั้นกล่าวว่า “พวกเรายังไม่สามารถที่จะถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์” ภิกษุณีถุลลนันทานำเรื่องนั้นไปบอกให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงให้ ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล๑- ด้วยความหวังในจีวรที่เลื่อนลอย๒- เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ สมัยแห่งจีวรกาล คือในเมื่อไม่ได้กรานกฐินนับเอาตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ @รวมเวลา ๑ เดือน ในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว นับเอาตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ @รวมเวลา ๕ เดือน ระยะเวลาในช่วงนี้เรียกว่า สมัยแห่งจีวรกาล @ “ความหวังในจีวรที่เลื่อนลอย” หมายถึงความหวังที่ภิกษุณีตั้งไว้เพราะได้ฟังเพียงคำของทายกว่า “ถ้า @สามารถก็จะถวาย” เป็นความหวังที่เลื่อนลอย ไม่แน่นอน (กงฺขา.อ. ๓๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๐๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ล่วงเลย สมัยแห่งจีวรกาลผ่านไปด้วยความหวังในจีวรที่เลื่อนลอย จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลาย ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาลผ่านไปด้วยความ หวังในจีวรที่เลื่อนลอยเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๙๒๑] ก็ภิกษุณีใดให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาลด้วยความหวังในจีวรที่เลื่อน ลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๒๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ความหวังในจีวรที่เลื่อนลอย ได้แก่ ที่ทายกเปล่งวาจาปวารณาว่า “ถ้าพวกเราสามารถ ก็จะถวาย จะทำ” ที่ชื่อว่า สมัยแห่งจีวรกาล คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน มีกำหนด ๑ เดือน ท้ายฤดูฝน เมื่อได้กรานกฐินแล้วมีกำหนด ๕ เดือน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๐๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร

คำว่า ให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล ความว่า เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน ให้ ล่วงเลย วันสุดท้ายฤดูฝน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้ว ให้ล่วงเลย วันที่กฐินเดาะ๑- ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๙๒๓] (ความหวังใน)จีวรที่เลื่อนลอย ภิกษุณีสำคัญว่า(เป็นความหวังใน) จีวรที่เลื่อนลอย ให้ล่วงเลยสมัยจีวรกาลไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (ความหวังใน)จีวรที่เลื่อนลอย ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล ต้องอาบัติทุกกฏ (ความหวังใน)จีวรที่เลื่อนลอย ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น(ความหวังใน)จีวรไม่เลื่อน ลอย ให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล ไม่ต้องอาบัติ (ความหวังใน)จีวรที่ไม่เลื่อนลอย ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น(ความหวังใน)จีวรที่ เลื่อนลอย ต้องอาบัติทุกกฏ (ความหวังใน)จีวรที่ไม่เลื่อนลอย ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ (ความหวังใน)จีวรที่ไม่เลื่อนลอย ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น(ความหวังใน)จีวรที่ไม่ เลื่อนลอย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๒๔] ๑. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงยกเลิกอานิสงส์กฐินที่ภิกษุและภิกษุณีพึงได้รับ @ดูเหตุให้กฐินเดาะ พระวินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๔๖๓ หน้า ๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=57              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=3510&Z=3558                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=249              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=249&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11518              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=249&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11518                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.249 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc26/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc29/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :