ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่จะ ยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการก่อคดีพิพาท
เรื่องอุบาสกกับภิกษุณีถุลลนันทา
[๖๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของ แก่ภิกษุณีสงฆ์แล้วถึงแก่กรรม เขามีบุตร ๒ คน คนหนึ่งไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใส อีกคนหนึ่งมีศรัทธาเลื่อมใส บุตรทั้งสองแบ่งสมบัติของบิดา บุตรคนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสได้กล่าวกับบุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นดังนี้ว่า “พวกเรายังมีโรงเก็บของ อยู่ เอาโรงเก็บของนี้มาแบ่งกันเถิด” เมื่อเขากล่าวอย่างนั้น บุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสได้กล่าวกับบุตรคนที่ไม่มี ศรัทธาไม่เลื่อมใสดังนี้ว่า “ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ บิดาของพวกเราถวายโรงเก็บ ของให้ภิกษุณีสงฆ์แล้ว” บุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสได้กล่าวกับบุตรคนมีศรัทธาเลื่อมใสนั้นแม้ครั้ง ที่ ๒ ดังนี้ว่า “พวกเรายังมีโรงเก็บของอยู่ เอามันมาแบ่งกันเถิด” บุตรคนที่มี ศรัทธาเลื่อมใสก็กล่าวกับบุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสดังนี้ว่า “ท่านอย่าได้กล่าว อย่างนี้ บิดาของพวกเราถวายโรงเก็บของให้ภิกษุณีสงฆ์แล้ว” บุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสกล่าวกับบุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสแม้ครั้งที่ ๓ ว่า “พวกเรายังมีโรงเก็บของอยู่ เอามันมาแบ่งกันเถิด” ต่อมา บุตรคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสคิดว่า ถ้าเราได้โรงเก็บของก็จักถวายภิกษุณีสงฆ์ จึงกล่าวกับบุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสดังนี้ว่า “ตกลง เราจะแบ่งมรดกกัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ

ครั้งนั้น เมื่อทั้งสองกำลังแบ่งกันอยู่ โรงเก็บของตกเป็นสมบัติของบุตรคนที่ไม่มี ศรัทธาไม่เลื่อมใส ต่อมา บุตรคนที่ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสได้เข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “เชิญท่านทั้งหลายออกไป โรงเก็บของเป็นสมบัติของกระผม” เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับบุรุษนั้นดังนี้ว่า “เธออย่า ได้กล่าวอย่างนี้ บิดาของเธอถวายโรงเก็บของให้ภิกษุณีสงฆ์แล้ว” ทั้งสองฝ่ายโต้เถียงกันว่า ถวาย ไม่ได้ถวาย จึงพากันไปฟ้องพวกมหาอมาตย์ ผู้พิพากษา พวกมหาอมาตย์ถามว่า “แม่เจ้า มีใครบ้างที่พอจะรู้เห็นเป็นพยานได้ว่า โรงเก็บของเขาถวายภิกษุณีสงฆ์แล้ว” เมื่อพวกมหาอมาตย์กล่าวอย่างนี้ ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้กล่าวกับพวกมหา อมาตย์ดังนี้ว่า “พวกท่านเคยเห็นหรือได้ยินบ้างไหมว่า เมื่อจะถวายทานจะต้องมี พยานด้วย” พวกมหาอมาตย์ตอบว่า “แม่เจ้ากล่าวจริง” จึงตัดสินมอบโรงเก็บของให้ ภิกษุณีสงฆ์ไป บุรุษนั้นแพ้คดี จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “หญิงชั่วหัวโล้นเหล่านี้ ไม่ใช่สมณะหญิง ไฉนจึงให้ผู้พิพากษาริบโรงเก็บของของเราเล่า” ภิกษุณีถุลลนันทาบอกเรื่องนั้นให้พวกมหาอมาตย์ทราบ พวกมหาอมาตย์ได้ ปรับสินไหมเขา บุรุษนั้นถูกปรับจึงให้สร้างที่พักอาชีวก๑- ไว้ใกล้ที่อยู่ภิกษุณีแล้วสั่ง อาชีวกว่า “พวกท่านจงช่วยกันพูดตะโกนใส่ภิกษุณีเหล่านี้” ภิกษุณีถุลลนันทาจึงบอกเรื่องนั้นให้พวกมหาอมาตย์ทราบ พวกมหาอมาตย์ สั่งให้จับบุรุษนั้นจองจำไว้ พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ครั้ง แรกพวกภิกษุณีให้เจ้าหน้าที่ริบโรงเก็บของ ครั้งที่ ๒ ให้ปรับสินไหม ครั้งที่ ๓ ให้ จองจำ คราวนี้เห็นทีจะสั่งฆ่า” @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อาชีวก” เป็นคำเรียกนักบวชชีเปลือยพวกหนึ่งในครั้งพุทธกาล เป็นสาวกของมักขลิโคสาล @(ดูทีฆนิกาย สีลขันวรรค แปล ๙/๑๖๗-๑๖๙/๕๔-๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง ชอบก่อคดีพิพาทเล่า” ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นผู้ชอบ ก่อคดีพิพาท จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงเป็นผู้ชอบก่อ คดีพิพาทเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๗๙] ก็ภิกษุณีใดก่อคดีพิพาทกับคหบดี กับบุตรคหบดี กับทาส หรือ กับกรรมกร โดยที่สุดกระทั่งกับสมณปริพาชก ภิกษุณีนี้ต้องธรรมคือ สังฆาทิเสสที่ชื่อว่าปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ๑-
เรื่องอุบาสกกับภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๘๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ” เป็นชื่อเฉพาะของธรรมคืออาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องในทันทีที่ล่วงละเมิด @โดยไม่มีการสวดสมนุภาสน์ และภิกษุณีที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องถูกไล่ออกจากภิกษุณีสงฆ์ @(วิ.อ. ๒/๖๗๙/๔๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ก่อคดีพิพาท พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผู้ก่อคดี ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ ชายผู้ครองเรือนคนใดคนหนึ่ง ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรและพี่น้องชายคนใดคนหนึ่ง ที่ชื่อว่า ทาส ได้แก่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสน้ำเงิน ทาสเชลย ที่ชื่อว่า กรรมกร ได้แก่ คนรับจ้างชั่วคราว คนงานประจำ ที่ชื่อว่า สมณปริพาชก ได้แก่ นักบวชคนใดคนหนึ่งอยู่ในลัทธิปริพาชก ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรี ภิกษุณีแสวงหาเพื่อนหรือเดินไปด้วยตั้งใจว่า “จะก่อคดี๋ ต้องอาบัติทุกกฏ บอกเรื่องของคนหนึ่ง(แก่ตุลาการ) ต้องอาบัติทุกกฏ บอกเรื่องของคนที่สอง ต้อง อาบัติถุลลัจจัย เมื่อศาลตัดสินแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คำว่า ปฐมาปัตติกะ คือ ต้องอาบัติพร้อมการล่วงละเมิดวัตถุโดยไม่ต้องสวด สมนุภาสน์ คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้นสงฆ์เท่านั้นให้มานัต ชักเข้า หาอาบัติเดิม เรียกเข้าหมู่๑- ภิกษุณีหลายรูปก็ทำไม่ได้ ภิกษุณีรูปเดียวก็ทำไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส นี้เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้นนั่นเอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส๒- @เชิงอรรถ : @ “ชักเข้าหาอาบัติเดิม” คือมูลปฏิกัสสนา “เรียกเข้าหมู่” คืออัพภาน @ สังฆาทิเสสนี้เป็นชื่อเรียกกองอาบัติ แปลว่า “หมู่อาบัติที่ต้องการสงฆ์ทั้งในระยะเบื้องต้นและในระยะที่ @เหลือ” หมายความว่า ภิกษุณีผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสจะออกจากอาบัตินั้นได้ต้องอาศัยสงฆ์ให้มานัต(ปักข @มานัต) ชักเข้าหาอาบัติเดิมและอัพภาน(เรียกเข้าหมู่) ในกรรมทั้งหมดนี้ ขาดสงฆ์เสียแล้ว ก็ทำไม่ได้สำเร็จ @ภิกษุณีผู้จะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสนั้น แม้จะปิดอาบัติไว้ก็ไม่ต้องอยู่ปริวาส ประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ @ ฝ่ายเลยทีเดียว” (กงฺขา.อ. ๓๕๕, ดู วิ.มหา. ๑/๒๓๗/๒๕๒ เชิงอรรถ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๘๑] ๑. ภิกษุณีถูกพวกชาวบ้านดึงตัวไป ๒. ภิกษุณีขออารักขา ๓. ภิกษุณีบอกไม่เจาะจงบุคคล ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๕-๒๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=402&Z=478                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=31              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=31&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10864              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=31&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10864                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.031 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss1/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss1/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :