ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ

๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการจากไปโดยไม่บอกเจ้าของ
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๘๕๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นภิกษุณีประจำ ตระกูลหนึ่ง รับภัตตาหารประจำ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุณีนั้นครองอันตรวาสก ถือ บาตรและจีวร๑- เข้าไปถึงที่ตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้ว นั่งบนอาสนะแล้วจากไปโดยไม่ บอกเจ้าของบ้าน หญิงรับใช้ตระกูลนั้นกวาดเรือนได้เก็บอาสนะนั้นไว้ระหว่างภาชนะ คนในบ้านไม่เห็นอาสนะ ได้ไปถามภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า อาสนะอยู่ที่ไหน” ภิกษุณีนั้นกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ดิฉันก็ไม่เห็นอาสนะนั้น” คนเหล่านั้นพูดว่า “แม่เจ้า โปรดให้อาสนะนั้นเถิด” บริภาษแล้วเลิกถวาย ภัตตาหารประจำ ต่อมาคนเหล่านั้นทำความสะอาดบ้านหลังนั้นพบอาสนะซ่อนอยู่ ระหว่างภาชนะ จึงขอขมาภิกษุณีนั้นแล้วได้เริ่ม(ถวาย)ภัตตาหารประจำ ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มัก น้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงเข้าไปสู่ตระกูล ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะแล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของ(บ้าน)เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้ นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลา @เชิงอรรถ : @ ครองอันตรวาสกถือบาตรจีวร ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม ๑ ข้อ ๒๒ หน้า ๑๔ (เชิงอรรถ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๖๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์

ก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะแล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน จริงหรือ” ภิกษุ ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบน อาสนะแล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๕๕] ก็ภิกษุณีใดเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะ แล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๕๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้ มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า เวลาก่อนฉันภัตตาหาร คือ ตั้งแต่เวลาอรุณขึ้นจนถึงเที่ยงวัน ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร คำว่า เข้าไป คือ ไปในตระกูลนั้น ที่ชื่อว่า อาสนะ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงที่สำหรับนั่งขัดสมาธิ คำว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๖๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร

คำว่า จากไปโดยมิได้บอกเจ้าของบ้าน ความว่า ไม่บอกคนใดคนหนึ่งใน ตระกูลนั้นผู้รู้เดียงสา ก้าวพ้นชายคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินล่วงเขตบ้านในที่แจ้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๕๗] ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก จากไป ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีไม่แน่ใจ จากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว จากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ที่ไม่ใช่ที่สำหรับนั่งขัดสมาธิ ต้องอาบัติทุกกฏ บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ต้องอาบัติทุกกฏ บอกแล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๘๕๘] ๑. ภิกษุณีไปโดยบอกแล้ว ๒. ภิกษุณีผู้นั่งบนอาสนะที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๕. ภิกษุณีวิกลจริต ๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๖๗-๑๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=43              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=2868&Z=2923                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=197              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=197&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11412              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=197&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11412                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.197 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc15/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc15/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :