ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ

๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการทิ้งอุจจาระเป็นต้นภายนอกฝา
เรื่องพราหมณ์คนหนึ่ง
[๘๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นผู้เก็บส่วยส่งหลวง๑- คิดว่า “เราจักทูลขอตำแหน่งนายด่านนั้น”๒- จึงสนาน เกล้าแล้วเดินไปราชสำนักผ่านที่อยู่ภิกษุณี ภิกษุณีรูปหนึ่งถ่ายอุจจาระลงในหม้อ แล้วเททิ้งภายนอกฝาราดลงบนศีรษะของพราหมณ์นั้นพอดี พราหมณ์นั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “หญิงชั่วหัวโล้นพวกนี้ไม่ใช่สมณะหญิง ไฉนจึงเทหม้อคูถ ลงที่ศีรษะของเรา เราจักเผาสำนักพวกนาง” ถือคบเพลิงเข้าไปสำนักภิกษุณี อุบาสกคนหนึ่งกำลังออกจากสำนักภิกษุณี ได้เห็นพราหมณ์นั้นถือคบเพลิง เดินเข้าไปสู่สำนัก จึงได้กล่าวกับพราหมณ์นั้นดังนี้ว่า “เหตุไรท่านจึงถือคบเพลิงไป สำนักภิกษุณีเล่า” พราหมณ์นั้นกล่าวว่า “หญิงชั่วหัวโล้นพวกนี้เทหม้อคูถลงที่ศีรษะของเรา เรา จักเผาสำนักพวกนาง” อุบาสกกล่าวว่า “กลับเถิด พราหมณ์ผู้เจริญ เหตุการณ์นี้จัดว่าเป็นมงคล ท่านจะได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ และจะได้ตำแหน่งนายด่านนั้น” พราหมณ์นั้นสนานเกล้าแล้วไปราชสำนัก ได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ และได้ตำแหน่ง นายด่านนั้น @เชิงอรรถ : @ พราหมณ์ผู้นี้ เป็นคนทำหน้าที่เก็บส่วยส่งพระราชาแล้วได้รับตำแหน่งหน้าที่ผู้หนึ่ง และได้รับรายได้จาก @ตำแหน่งนั้น ต่อมาอยากได้ตำแหน่งนายด่าน จึงนำส่วยไปส่งพระราชาเพื่อจะทูลขอตำแหน่งนายด่าน @(วิ.อ. ๒/๘๒๔/๔๙๓, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๒๔/๑๕๒) @ จะส่งส่วยพระราชาแล้วทูลขอตำแหน่งนายด่าน (วิ.อ. ๒/๘๒๔/๔๙๓, สารตฺถ.ฏีกา. ๓/๘๒๔/๑๕๒) @ในวชิรพุทธิฎีกาว่า จะไปขอค่าบำเหน็จ (วชิร.ฏีกา ๘๒๔/๔๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๔๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ สิกขาบทวิภังค์

ครั้งนั้น อุบาสกนั้นกลับเข้าไปสำนัก แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้ว บริภาษ๑- บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงเทอุจจาระภายนอกฝาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่อง นี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเทอุจจาระภาย นอกฝา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเทอุจจาระภายนอก ฝาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๒๕] ก็ภิกษุณีใดเทหรือใช้ให้เทอุจจาระหรือปัสสาวะ หยากเยื่อหรือ ของเป็นเดนภายนอกฝาหรือภายนอกกำแพง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพราหมณ์คนหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๒๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด @เชิงอรรถ : @ คือปรามพวกภิกษุณีว่า “อย่ากระทำอย่างนี้อีก” (วิ.อ. ๒/๘๒๔/๔๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๔๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร

คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า อุจจาระ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงคูถ ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ตรัสหมายถึงมูตร ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ตรัสหมายถึงขยะมูลฝอย ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ตรัสหมายถึงอามิสที่เป็นเดน กระดูกเป็นเดน หรือ น้ำเป็นเดน ที่ชื่อว่า ฝา ได้แก่ ฝา ๓ ชนิด คือ (๑) ฝาอิฐ (๒) ฝาแผ่นศิลา (๓) ฝาไม้ ที่ชื่อว่า กำแพง ได้แก่ กำแพง ๓ ชนิด คือ (๑) กำแพงอิฐ (๒) กำแพงศิลา (๓) กำแพงไม้ คำว่า ภายนอกฝา คือ อีกด้านหนึ่งของฝา คำว่า ภายนอกกำแพง คือ อีกด้านหนึ่งของกำแพง คำว่า เท คือ เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ใช้ให้เท คือ ใช้ผู้อื่นให้เท ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ เทหลายครั้ง ภิกษุณีผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีดังต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๘๒๗] ๑. ภิกษุณีมองดูก่อนแล้วจึงเท ๒. ภิกษุณีเทในที่ที่เขาไม่ใช้สัญจร ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๔๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๔๖-๑๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=2548&Z=2599                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=175              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=175&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11335              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=175&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11335                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc8/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc8/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :