ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ

๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายสงฆ์ข้อที่ ๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๗๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกและอุบาสิการวบรวม บริขาร๑- ที่เขาให้ด้วยความพอใจเพื่อค่าจีวรถวายภิกษุณีสงฆ์แล้วฝากไว้ที่บ้านของคนขาย ผ้าคนหนึ่งแล้วเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกเราฝาก บริขารค่าจีวรไว้ที่บ้านของคนขายผ้าชื่อโน้น ท่านทั้งหลายโปรดให้ไวยาวัจกรไปนำ จีวรจากบ้านนั้นมาแจกกันเถิด เจ้าข้า” ภิกษุณีทั้งหลายให้เอาบริขารนั้นแลกเปลี่ยนเภสัชเองแล้วบริโภค อุบาสกและอุบาสิกาทราบเข้า จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุณีจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศ ของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกอุบาสกและอุบาสิกาตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุณีจึงให้เอาบริขาร ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศ ของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า ฯลฯ” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ บริขาร หมายถึงกัปปิยภัณฑ์ คือของที่สมควรแก่ภิกษุณีสงฆ์ (กงฺขา.อ. ๓๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีให้เอาบริขารที่เขา ถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาค แก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน พวกภิกษุณีจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย อุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๕๙] ก็ภิกษุณีใดให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่าง หนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของ อย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๖๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย อุทิศของอย่างหนึ่ง คือ ของที่ทายกถวายเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง คำว่า ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ คือ ที่เขาบริจาคเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ไม่ใช่แก่ คณะ ไม่ใช่แก่บุคคล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ให้ ... แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ความว่า ให้แลกเปลี่ยนเป็นปัจจัย อย่างอื่นนอกจากที่เขาถวายเจาะจงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ให้แลกเปลี่ยน ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้ดิฉันให้ เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละของนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้นั้นด้วยญัตติกรรม วาจาว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ “ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๐๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๖๑] ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้แลกเปลี่ยน ของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของที่เขา ถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุณีได้ของที่สละแล้วคืนมาพึงรวมกับปัจจัยที่เขาถวายไว้
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของ ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้อง อาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๖๒] ๑. ภิกษุณีนำกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น ๒. ภิกษุณีขออนุญาตเจ้าของก่อนจึงนำไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น ๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๐๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๙๘-๑๐๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=21              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=1717&Z=1791                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=118              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=118&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11174              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=118&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11174                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np6/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np6/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :