ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ

๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วให้ซื้อของอย่างอื่น
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๕๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นไข้ ลำดับนั้น อุบาสกคนหนึ่งเข้าไปเยี่ยมภิกษุณีถุลลนันทาถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับภิกษุณี ถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้ายังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” นางตอบว่า “ท่าน ดิฉันไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ” เขาปวารณาว่า “แม่เจ้า กระผมฝากกหาปณะไว้ที่บ้านของเจ้าของร้านค้าชื่อ โน้น ท่านใช้ให้คนไปนำสิ่งที่ต้องการมาเถิด ขอรับ” ภิกษุณีถุลลนันทาสั่งสิกขมานารูปหนึ่งว่า “สิกขมานา เธอจงไปนำน้ำมันราคา ๑ กหาปณะมาจากบ้านของเจ้าของร้านค้าชื่อโน้น” ลำดับนั้น สิกขมานานั้นไป นำน้ำมันราคา ๑ กหาปณะมาจากบ้านของเจ้าของร้านค้านั้นแล้วได้ถวายแก่ภิกษุณี ถุลลนันทา ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวอย่างนี้ว่า “เราไม่ต้องการน้ำมัน แต่ต้องการเนยใส” ลำดับนั้น สิกขมานานั้นกลับไปหาเจ้าของร้านค้าคนนั้นถึงที่ร้าน ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวกับเจ้าของร้านค้านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าไม่ต้องการน้ำมัน แต่ต้องการเนยใส โปรดรับน้ำมันของท่านคืนไป โปรดให้เนยใสแก่ดิฉัน” เจ้าของร้านค้าจึงตอบว่า “แม่เจ้า ถ้าเรารับของที่ขายไปกลับคืนอีก เมื่อไร เราจึงจะขายสินค้าได้ ท่านซื้อน้ำมันตามราคาน้ำมันไปแล้ว ท่านจะเอาเนยใสก็จงนำ เงินค่าเนยใสมา” ครั้งนั้น สิกขมานานั้นได้ยืนร้องไห้ ภิกษุณีทั้งหลายจึงถามว่า “เธอร้องไห้ เพราะเหตุไร” เธอจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์

บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าถุลลนันทาจึงสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วให้ซื้อของอย่างอื่นเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาสั่งให้ซื้อของ อย่างหนึ่งแล้วสั่งให้ซื้อของอย่างอื่น จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ถุลลนันทาสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วสั่งให้ซื้ออย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๕๔] ก็ภิกษุณีใดสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วสั่งให้ซื้อของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๕๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า สั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้ว คือ สั่งให้ซื้อของอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์

คำว่า สั่งให้ซื้อของอย่างอื่น ความว่า สั่งให้ซื้อของอย่างอื่นนอกจากของที่ ให้สั่งให้ซื้อก่อนนั้น ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่สั่งให้ซื้อ ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์เพราะ ได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์นั้นอย่างนี้
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้ ดิฉันสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วจึงสั่งให้ซื้อมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละของนี้แก่ สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ “ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๕๖] ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอย่างอื่น สั่งให้ซื้อของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ สั่งให้ซื้อของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น สั่งให้ซื้อของอย่างอื่น ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของอย่างอื่น สั่งให้ซื้อของที่ไม่ใช่อย่าง อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ สั่งให้ซื้อของที่ไม่ใช่อย่างอื่น ต้องอาบัติ ทุกกฏ ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๕๗] ๑. ภิกษุณีสั่งให้ซื้อของนั้นเพิ่มและสั่งให้ซื้อของคู่อย่างอื่น ๒. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วสั่งให้ซื้อ ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๙๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๙๔-๙๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=20              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=1641&Z=1716                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=114              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=114&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11169              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=114&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11169                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.114 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np5/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np5/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :