ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๗. ทสรถชาดก (๔๖๑)
ว่าด้วยพระเจ้าทศรถ
(พระรามบัณฑิตกล่าวว่า) [๘๔] มานี่ พ่อลักษณ์และแม่สีดา เจ้าทั้ง ๒ จงลงน้ำ น้องภรตนี้กล่าวอย่างนี้ว่า พระเจ้าทศรถสวรรคตแล้ว (ภรตกุมารถามรามบัณฑิตว่า) [๘๕] เจ้าพี่ราม เพราะอานุภาพอะไร เจ้าพี่จึงไม่ทรงเศร้าโศกถึงเหตุที่ควรเศร้าโศก ความทุกข์จึงไม่ครอบงำเจ้าพี่ เพราะทรงสดับว่า ทูลกระหม่อมพ่อสวรรคตแล้ว (พระรามบัณฑิตประกาศความไม่เที่ยงว่า) [๘๖] บรรดาคนทั้งหลายผู้พร่ำเพ้อถึงอยู่เป็นอันมาก ไม่มีสักคนหนึ่งที่สามารถจะรักษาชีวิตไว้ได้ วิญญูชนคนมีปัญญาจะพึงยังตนให้เดือดร้อนเพื่ออะไรเล่า [๘๗] เพราะว่าคนหนุ่ม คนแก่ คนโง่ คนฉลาด คนมั่งคั่งร่ำรวย คนจนก็ตาม ล้วนจะต้องตายทั้งนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต]

๗. ทสรถชาดก (๔๖๑)

[๘๘] สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมามีภัยต้องตายแน่นอน เหมือนผลไม้สุกมีอันตรายต้องหล่นแน่นอน [๘๙] ชนเป็นจำนวนมาก บางพวกเห็นกันเมื่อตอนเช้า ในตอนเย็นกลับไม่ปรากฏ บางพวกเห็นกันในตอนเย็น พอรุ่งเช้ากลับไม่ปรากฏ [๙๐] หากผู้ที่หลงคร่ำครวญเบียดเบียนตนอยู่ จะพึงนำประโยชน์อะไรมาได้บ้าง บัณฑิตผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ก็จะพึงกระทำเช่นนั้นบ้าง [๙๑] ผู้ที่เบียดเบียนตนเองย่อมจะซูบผอม ไม่ผ่องใสเพราะการคร่ำครวญนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้ละไปสู่ปรโลกก็คุ้มครองตนไม่ได้ การคร่ำครวญเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ [๙๒] ที่พำนักอาศัยที่ร้อน บุคคลพึงใช้น้ำดับได้ฉันใด ข้ออุปไมยก็ฉันนั้น ความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นแล้ว นรชนคนผู้เป็นปราชญ์มีการสดับฟัง มีปัญญา เป็นบัณฑิต พึงกำจัดเสียโดยพลันเหมือนลมพัดนุ่น [๙๓] สัตว์ย่อมตายคนเดียว เกิดก็คนเดียวในสกุล ส่วนการคบหากันของสรรพสัตว์มีความเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างยิ่ง [๙๔] เพราะเหตุนั้นแหละ นักปราชญ์ผู้เป็นพหูสูต พิจารณาโลกนี้และโลกหน้า เพราะรู้ทั่วถึงธรรม แม้ความเศร้าโศกใหญ่หลวงก็แผดเผาจิตใจไม่ได้ [๙๕] เรานั้นจักให้ จักบริโภค จักเลี้ยงดูญาติทั้งหลาย และจักคุ้มครองมหาชนที่เหลือ นั่นเป็นหน้าที่ของท่านผู้รู้ [๙๖] พระรามบัณฑิตผู้มีพระศองามดุจทองคำ มีพระพาหาใหญ่ ทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ ๑๖,๐๐๐ ปี
ทสรถชาดกที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๖๘-๓๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=461              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=6278&Z=6308                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1564              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1564&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=981              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1564&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=981                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja461/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :