ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต]

๕. สรภังคเถรคาถา

๕. สรภังคเถรคาถา
ภาษิตของพระสรภังคเถระ
(พระสรภังคเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า) [๔๘๗] เราได้ใช้มือหักต้นแขม ทำกระท่อมอยู่อาศัย เพราะเหตุนั้น เราจึงได้มีชื่อโดยสมมติว่าสรภังคะ [๔๘๘] วันนี้ เราไม่สมควรใช้มือทั้งสองหักต้นแขมอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลายสำหรับพวกเราแล้ว [๔๘๙] เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรค๑- ครบบริบูรณ์ โรคนี้นั้นเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพได้เห็นแล้ว [๔๙๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี สิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ และกัสสปะ ได้ทรงดำเนินไปโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ทรงดำเนินโดยทางนั้น [๔๙๑] พระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ปราศจากตัณหา ไม่ทรงยึดมั่น หยั่งถึงความดับ เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่ ได้ทรงแสดงธรรมนี้ คือ [๔๙๒] อริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และทางที่ดำเนินไปให้ถึงความสิ้นทุกข์ ด้วยทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ @เชิงอรรถ : @ อุปาทานขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ชื่อว่า โรค เพราะอรรถว่าเสียดแทงด้วย @อำนาจแห่งการเป็นทุกขเวทนาเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๔๘๙/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต]

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต

[๔๙๓] ทุกข์อันไม่มีที่สุดในสังสารวัฏ ย่อมเป็นไปไม่ได้ในนิโรธที่ทรงแสดงไว้ เพราะกายนี้ดับไป และเพราะชีวิตนี้สิ้นไป ภพใหม่ไม่มีอีก เราเป็นผู้หลุดพ้นดีแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง
สัตตกนิบาต จบ
รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระสุนทรสมุทรเถระ ๒. พระลกุณฏกภัททิยเถระ ๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ ๕. พระสรภังคเถระ ในสัตตกนิบาตนี้ มีพระเถระ ๕ รูป และมี ๓๕ คาถา ฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๒๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๒๒-๔๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=365              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=6780&Z=6805                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=365              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=365&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=3570              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=365&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=3570                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag7.5/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :