ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. สังฆเภทสูตร
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
[๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ในเวลาเช้า วันอุโบสถ ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไป หาแล้วกล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะ ทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรมแยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์” ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์แล้ว กลับจาก บิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก @เชิงอรรถ : @ อภิ.ก. ๓๗/๓๒๑/๑๖๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค]

๙. สธายมานสูตร

ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระองค์กำลัง เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่าน อานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรมแยกจากพระผู้มี พระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พระเทวทัตจะทำลายสงฆ์ จะทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรม พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
กรรมดี คนดีทำได้ง่าย กรรมดี คนชั่วทำได้ยาก กรรมชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย กรรมชั่ว พระอริยะทั้งหลายทำได้ยาก๑-
สังฆเภทสูตรที่ ๘ จบ
๙. สธายมานสูตร
ว่าด้วยเด็กหนุ่มกล่าวถากถางผู้อื่น
[๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ สมัยนั้น เด็กหนุ่มจำนวนมากเดินคุยถากถางผู้อื่นในที่ไม่ไกลจากพระผู้มี พระภาค @เชิงอรรถ : @ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๔๓/๒๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๗๕-๒๗๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=83              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=3260&Z=3282                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=124              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=124&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=7583              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=124&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=7583                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.5.08.than.html https://suttacentral.net/ud5.8/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud5.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :