ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. นิธิกัณฑสูตร
ว่าด้วยการฝังขุมทรัพย์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่กุฎุมพีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ดังนี้) [๑] คนเราฝังขุมทรัพย์๒- ไว้ในที่ลึกจดถึงน้ำก็ด้วยคิดว่า เมื่อเกิดกิจที่จำเป็นขึ้น ขุมทรัพย์นี้จะเป็นประโยชน์แก่เรา [๒] คนเราฝังขุมทรัพย์ไว้ในโลก ก็เพื่อจุดประสงค์นี้ คือ เพื่อให้พ้นจากราชภัยที่คอยคุกคาม เพื่อให้พ้นจากโจรภัยที่คอยเบียดเบียน เพื่อเก็บไว้ใช้หนี้ก็มี เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเกิดทุพภิกขภัย๓- หรือเพื่อใช้ในเวลามีภัยอันตรายต่างๆ @เชิงอรรถ : @ ญาติธรรม หมายถึงกิจคือการสงเคราะห์ต่อกันที่ญาติจะพึงกระทำต่อกัน (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๙๐) @ ขุมทรัพย์ มี ๔ ชนิด คือ (๑) ถาวระ คือขุมทรัพย์ถาวร เช่น ที่ดิน ที่นา ที่สวน เงินและทอง (๒) ชังคมะ @คือขุมทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น ทาสชาย ทาสหญิง ช้าง ม้า โค กระบือ แกะ ไก่ สุกร เป็นต้น (๓) อังคสมะ @คือขุมทรัพย์ติดตัว เช่น วิชาความรู้ ศิลปวิทยา เป็นต้น (๔) อนุคามิกะ คือขุมทรัพย์ตามตัวทางคุณธรรม @ได้แก่ บุญกุศล ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา เป็นต้น ในที่นี้หมายถึงขุมทรัพย์ถาวร (ขุ.ขุ.อ. ๘/๑๙๓) @ ทุพภิกขภัย หมายถึงภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง หรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง @(ขุ.ขุ.อ. ๘/๑๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๘. นิธิกัณฑสูตร

[๓] ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้อย่างดีในที่ลึกจดน้ำถึงเพียงนั้น จะสำเร็จประโยชน์แก่เขาไปทั้งหมด ตลอดเวลาก็หาไม่ [๔] เพราะบางทีขุมทรัพย์ก็เคลื่อนที่ไปก็มี บางทีเขาลืมที่ฝังไว้ก็มี บางทีพวกนาคเคลื่อนย้ายก็มี บางทีพวกยักษ์นำขุมทรัพย์นั้นไปก็มี [๕] หรือบางทีเมื่อเขาไม่เห็น ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขโมยขุดเอาไปก็มี เมื่อเขาสิ้นบุญ ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ทั้งหมดนั้นก็พินาศหายไป [๖] ขุมทรัพย์๑- ที่ผู้ใดจะเป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม ฝังไว้ดีแล้ว ด้วยทาน ศีล สัญญมะ และทมะ๒- [๗] ในพระเจดีย์ พระสงฆ์ บุคคล แขกที่มาหา ในมารดา บิดา หรือพี่ชาย [๘] ขุมทรัพย์นี้ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว คนอื่นขนเอาไปไม่ได้ จะติดตามคนฝังตลอดไป บรรดาทรัพย์สมบัติที่เขาจำต้องละไป เขาพาไปได้เฉพาะขุมทรัพย์นี้เท่านั้น [๙] ขุมทรัพย์นี้ไม่ทั่วไปแก่คนเหล่าอื่น ทั้งโจรก็ลักเอาไปไม่ได้ ผู้มีปัญญาควรทำแต่บุญที่จะเป็นขุมทรัพย์ติดตามตนตลอดไป [๑๐] ขุมทรัพย์นี้ให้ผลอันน่าปรารถนาทุกประการ แก่เทวดา และมนุษย์ คือเทวดาและมนุษย์ปรารถนาผลใดๆ ผลนั้นๆ ทุกอย่าง จะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ @เชิงอรรถ : @ ขุมทรัพย์ ในที่นี้หมายถึงขุมทรัพย์ชนิดอนุคามิกะ (ดูเชิงอรรถหน้า ๑๗ ประกอบ) (ขุ.ขุ.อ. ๘/๑๙๖) @ สัญญมะ หมายถึงการห้ามจิตมิให้ตกไปในอารมณ์ต่างๆ คำนี้เป็นชื่อของสมาธิและอินทรียสังวร ทมะ @หมายถึงการฝึกตน ได้แก่ การเข้าไประงับกิเลส คำนี้เป็นชื่อของปัญญา (ขุ.ขุ.อ. ๘/๑๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๘. นิธิกัณฑสูตร

[๑๑] ความมีผิวพรรณงดงาม ความมีเสียงไพเราะ ความมีทรวดทรงสมส่วน ความมีรูปสวย ความเป็นใหญ่ ความมีบริวาร ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ [๑๒] ความเป็นพระราชาในประเทศ ความเป็นอิสระ๑- ความสุขของความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอันน่าพอใจ และแม้ความเป็นเทวราชของเทวดาในหมู่เทพ ทั้งหมดก็จะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ [๑๓] สมบัติของมนุษย์ก็ดี ความยินดีในเทวโลกก็ดี สมบัติคือนิพพานก็ดี ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ [๑๔] บุคคลอาศัยมิตตสัมปทา๒- ประกอบความเพียรโดยแยบคาย ก็จะเป็นผู้ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ [๑๕] ปฏิสัมภิทา๓- วิโมกข์๔- สาวกบารมี๕- ปัจเจกโพธิ๖- และพุทธภูมิ๗- ทั้งหมดจะได้ด้วยขุมทรัพย์นี้ @เชิงอรรถ : @ ความเป็นอิสระ หมายถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๓) @ มิตตสัมปทา หมายถึงความเพรียบพร้อมด้วยมิตรที่มีคุณความดี เช่น พระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารี @ผู้ดำรงตนน่าเคารพ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๕) @ ปฏิสัมภิทา หมายถึงปัญญาแตกฉานมี ๔ ประการ คือ (๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ @(๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา @(๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖) @ วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ ๘ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖) @ สาวกบารมี หมายถึงบารมีที่ให้สำเร็จเป็นพระสาวก (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖) @ ปัจเจกโพธิ หมายถึงบารมีที่ให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ได้เอง (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖) @ พุทธภูมิ หมายถึงบารมีที่ให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ๙. เมตตสูตร

[๑๖] บุญสัมปทา๑- นี้มีประโยชน์มากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นปราชญ์ จึงสรรเสริญภาวะแห่งบุญที่ทำไว้แล้ว
นิธิกัณฑสูตร จบ
๙. เมตตสูตร
ว่าด้วยการแผ่เมตตา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า ดังนี้) [๑] ผู้ฉลาดในประโยชน์มุ่งหวังบรรลุสันตบท๒- ควรบำเพ็ญกรณียกิจ๓- ควรเป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง เคร่งครัด ว่าง่าย อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง [๒] ควรเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย๔- มีความประพฤติเบา๕- มีอินทรีย์สงบ มีปัญญารักษาตน ไม่คะนอง๖- ไม่ยึดติดในตระกูลทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ บุญสัมปทา หมายถึงความถึงพร้อมแห่งบุญ (ขุ.ขุ.อ. ๘/๒๐๖) @ สันตบท หมายถึงนิพพาน (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๒) @ กรณียกิจ หมายถึงการศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตรงกันข้ามกับ อกรณียกิจ คือ สีลวิบัติ @ทิฏฐิวิบัติ อาจารวิบัติ อาชีววิบัติ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๒) @ มีกิจน้อย ในที่นี้หมายถึงไม่ขวนขวายการงานต่างๆ ที่จะทำให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่พูดคุยเพ้อเจ้อ ไม่คลุกคลี @หมู่คณะ ปล่อยวางหน้าที่รับผิดชอบงานก่อสร้าง งานบริหารคณะสงฆ์ เป็นต้น มุ่งบำเพ็ญสมณธรรมเป็น @หลัก (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๖) @ มีความประพฤติเบา ในที่นี้หมายถึงมีเพียงบริขาร ๘ เช่น บาตร จีวร เป็นต้น ไม่สะสมสิ่งของมากให้เป็น @ภาระ เหมือนนกมีเพียงปีกบินไปฉะนั้น (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๖) @ ไม่คะนอง หมายถึงไม่คะนองกาย วาจา และใจ (ขุ.ขุ.อ. ๙/๒๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๗-๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=195&Z=236                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=9              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=9&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=17&A=5082              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=9&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=17&A=5082                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i001-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/khp/khp.1-9.than.html#khp-8 https://suttacentral.net/kp8/en/anandajoti https://suttacentral.net/kp8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :