ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสูตร

๑๖. สารีปุตตสูตร๑-
ว่าด้วยพระสารีบุตรกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
(ท่านพระสารีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้) [๙๖๒] พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงไพเราะอย่างนี้ ได้เสด็จจากภพดุสิตมาเป็นพระคณาจารย์ ก่อนหน้านี้ ข้าพระองค์ไม่เคยเห็น ทั้งไม่เคยได้ยินจากใครๆ มาเลย [๙๖๓] พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง ทรงเป็นเอกบุรุษ บรรลุความยินดีแล้ว [๙๖๔] ข้าพระองค์มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา จึงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่ทรงถูกกิเลสอาศัย เป็นผู้มั่นคง ไม่หลอกลวง เสด็จมาเป็นพระคณาจารย์ของคนเป็นอันมาก ผู้ยังผูกพันอยู่ในศาสนานี้ [๙๖๕] เมื่อภิกษุเบื่อหน่าย ใช้สอยที่นั่งอันว่างเปล่า ในถ้ำแห่งภูเขา ที่โคนไม้ หรือที่ป่าช้า [๙๖๖] ภิกษุอยู่บนที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงอื้ออึง เห็นอารมณ์ที่น่าหวาดเสียวเหล่าใดแล้ว ไม่พึงหวั่นไหว ภิกษุ(อื่น) พึงหวั่นไหวร้องไห้อยู่บนที่นอนสูงและใหญ่ ซึ่งเป็นที่มีอารมณ์ที่น่าหวาดเสียว @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๐-๒๑๐/๕๓๕-๖๒๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสูตร

[๙๖๗] ภิกษุเมื่อจะไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป๑- พึงปราบปรามอันตรายที่มีอยู่ในโลก บนที่นั่งที่นอนอันเงียบสงัด [๙๖๘] ภิกษุอบรมตนอยู่ พึงมีแนวทางแห่งถ้อยคำอย่างไร พึงมีโคจรในศาสนานี้อย่างไร พึงมีศีลและวัตรอย่างไร [๙๖๙] ภิกษุนั้นพึงสมาทานสิกขาอะไร จึงมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติกำจัดมลทินของตนได้ เหมือนช่างทองขจัดมลทินทอง ฉะนั้น (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร) [๙๗๐] เราจักบอกความผาสุก และธรรมตามสมควรนั้น ของผู้เบื่อหน่าย ใช้สอยที่นั่งที่นอนอันสงัด ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณแก่เธอ ตามที่รู้ [๙๗๑] ภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ ไม่พึงกลัวภัย ๕ อย่าง คือ เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสจากมนุษย์ และสัตว์ ๔ เท้า [๙๗๒] ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมาก @เชิงอรรถ : @ ทิศที่ไม่เคยไป ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.สุ.อ. ๒/๙๖๗/๔๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสูตร

ของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น ก็ไม่พึงหวาดกลัว อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศลธรรม พึงปราบปรามอันตรายอื่นๆ [๙๗๓] ภิกษุถูกผัสสะแห่งความเจ็บป่วยและความหิวกระทบแล้ว พึงอดกลั้นความหนาว หรือความร้อน ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง ก็ไม่ให้โอกาส พึงทำความเพียรและความบากบั่นให้มั่นคง [๙๗๔] ภิกษุไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้ยังหวาดสะดุ้ง และผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ [๙๗๕] ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้นดำรงอยู่ แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขาร ที่เป็นที่รักหรือไม่เป็นที่รักโดยแท้ [๙๗๖] ภิกษุผู้มีปีติในเรื่องดีงาม พึงเชิดชูปัญญา พึงข่มอันตรายเหล่านั้น พึงปราบความไม่ยินดีในที่นั่งที่นอนอันสงัด ทั้งปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ ๔ ประการ [๙๗๗] เราจักฉันอะไรเล่า หรือจักฉันที่ไหน คืนนี้เรานอนลำบากแล้วหนอ เราจักนอนที่ไหนเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๑๖. สารีปุตตสูตร

ภิกษุผู้เป็นเสขะพึงกำจัดวิตกอันเป็นที่ตั้ง แห่งความคร่ำครวญเหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป [๙๗๘] ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาลแล้ว พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ภิกษุนั้นคุ้มครองในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในหมู่บ้าน แม้ถูกด่า ก็ไม่พึงกล่าววาจาหยาบ [๙๗๙] ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรม ที่อาศัยความตรึกและความคะนอง [๙๘๐] ภิกษุถูกผู้ตักเตือนด้วยวาจา พึงมีสติชื่นชม ทำลายความกระด้างในเพื่อนพรหมจารี พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่พึงคิดหาเรื่องที่จะว่ากล่าวคน [๙๘๑] ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาเพื่อกำจัดธุลี ๕ อย่างในโลก คือพึงปราบปรามราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น ราคะในรส และราคะในผัสสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

[๙๘๒] ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว พึงกำจัดความพอใจในธรรมเหล่านี้ ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด
สารีปุตตสูตรที่ ๑๖ จบ
อัฏฐกวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กามสูตร ๒. คุหัฏฐกสูตร ๓. ทุฏฐัฏฐกสูตร ๔. สุทธัฏฐกสูตร ๕. ปรมัฏฐกสูตร ๖. ชราสูตร ๗. ติสสเมตเตยยสูตร ๘. ปสูรสูตร ๙. มาคันทิยสูตร ๑๐. ปุราเภทสูตร ๑๑. กลหวิวาทสูตร ๑๒. จูฬวิยูหสูตร ๑๓. มหาวิยูหสูตร ๑๔. ตุวฏกสูตร ๑๕. อัตตทัณฑสูตร ๑๖. สารีปุตตสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๓๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๓๐-๗๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=281              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=10735&Z=10809                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=423              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=423&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9323              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=423&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9323                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i408-e.php#sutta16 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.4.16.than.html https://suttacentral.net/snp4.16/en/mills https://suttacentral.net/snp4.16/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :