ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๑. ชราวรรค ๒. สิริมาวัตถุ

๑๑. ชราวรรค
หมวดว่าด้วยความชรา
๑. วิสาขาสหายิกาวัตถุ
เรื่องหญิงสหายของนางวิสาขา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่หญิงประมาณ ๕๐๐ คน ดังนี้) [๑๔๖] เมื่อโลกลุกเป็นไฟ๑- อยู่เป็นนิตย์ ทำไมจึงมัวหัวเราะร่าเริงกันอยู่เล่า เธอทั้งหลายถูกความมืด๒- ปกคลุม ไฉนไม่แสวงหาดวงประทีป๓- กันเล่า
๒. สิริมาวัตถุ
เรื่องนางสิริมา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บริษัท ๔ ที่มุงดูศพนางสิริมา ดังนี้) [๑๔๗] จงดูอัตภาพที่ตกแต่งอย่างสวยงาม แต่มีกายเป็นแผล๔- มีกระดูกเป็นโครงร่าง๕- อันกระสับกระส่าย ที่มหาชนดำริหวังกันมาก๖- ซึ่งไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น @เชิงอรรถ : @ โลกลุกเป็นไฟ หมายถึงโลกสันนิวาส (โลกคือหมู่สัตว์) ถูกไฟ ๑๑ กอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา @มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส แผดเผาอยู่เป็นนิตย์ (ขุ.ธ.อ. ๕/๙๓) @และดู วิ.ม. (แปล) ๔/๕๔/๖๓, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๘/๒๗-๒๘ ประกอบ @ ความมืด หมายถึงอวิชชา (ขุ.ธ.อ. ๕/๙๓) @ ดวงประทีป หมายถึงแสงสว่างคือญาณ (ขุ.ธ.อ. ๕/๙๓) @ มีกายเป็นแผล หมายถึงมีทวาร ๙ (ขุ.ธ.อ. ๕/๙๙) @ มีกระดูกเป็นโครงร่าง หมายถึงมีกระดูก ๓๐๐ ท่อนเป็นโครงร่าง (ขุ.ธ.อ. ๕/๙๙) @ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๐๒/๓๕๙, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๗๖๙/๔๖๘, ๑๑๖๐/๕๓๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๑. ชราวรรค ๕. ชนปทกัลยาณีรูปนันทาเถรีวัตถุ

๓. อุตตราเถรีวัตถุ
เรื่องพระอุตตราเถรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระอุตตราเถรีผู้มีอายุ ๑๒๐ ปี ดังนี้) [๑๔๘] ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นรังของโรค มีแต่จะทรุดโทรมลงไป ร่างกายที่เน่าเปื่อยนี้ก็จะแตกดับไป เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด
๔. อธิมานิกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้เข้าใจว่าตนสำเร็จ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายที่กำลังดูซากศพในป่าช้า ดังนี้) [๑๔๙] กระดูกเหล่านี้มีสีเหมือนสีนกพิราบ ถูกเขาทิ้งไว้เกลื่อนกลาด เหมือนน้ำเต้าที่ร่วงเกลื่อนกลาดในสารทกาล๑- ความยินดีอะไรเล่าจะเกิด เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น
๕. ชนปทกัลยาณีรูปนันทาเถรีวัตถุ
เรื่องพระรูปนันทาเถรีผู้งามในรัฐ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระรูปนันทาเถรีผู้สำคัญตนว่างาม ดังนี้) [๑๕๐] ร่างกายนี้ถูกสร้างให้เป็นนครแห่งกระดูก ฉาบด้วยเนื้อและเลือด เป็นที่สถิตแห่งความแก่ ความตาย ความถือตัว และความลบหลู่กัน @เชิงอรรถ : @ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ฤดูสารท เทศกาลทำบุญสิ้นเดือน ๑๐ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน @พ.ศ. ๒๕๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๑. ชราวรรค ๘. ปฐมโพธิวัตถุ

๖. มัลลิกาเทวีวัตถุ
เรื่องพระนางมัลลิกาเทวี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เสียพระทัยเพราะ การจากไปของพระนางมัลลิกาเทวี ดังนี้) [๑๕๑] ราชรถอันวิจิตรงดงาม ยังชำรุดได้ แม้แต่ร่างกายนี้ ก็ยังเข้าถึงชราได้ แต่ธรรมของสัตบุรุษ๑- หาเข้าถึงชราไม่ สัตบุรุษกับสัตบุรุษรู้กันได้อย่างนี้๒-
๗. โลลุทายิเถรวัตถุ
เรื่องพระโลลุทายีเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๕๒] คนที่มีการศึกษาน้อยนี้ ย่อมแก่ไปเปล่าเหมือนโคพลิพัท เขาเจริญแต่เนื้อหนัง ส่วนปัญญาหาเจริญไม่๓-
๘. ปฐมโพธิวัตถุ
เรื่องเหตุการณ์คราวแรกตรัสรู้
(พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทาน ดังนี้) [๑๕๓] เราตามหานายช่าง๔- ผู้สร้างเรือน๕- เมื่อไม่พบ๖- จึงท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ เพราะการเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ @เชิงอรรถ : @ ธรรมของสัตบุรุษ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) (ขุ.ธ.อ. ๕/๑๑๑) @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๑๔/๑๓๑, ขุ.ชา. (แปล) ๒๘/๔๑๓/๑๖๖ @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๐๒๘/๕๐๘ @ นายช่าง ในที่นี้หมายถึงตัณหา (ขุ.ธ.อ. ๕/๑๑๖) @ เรือน ในที่นี้หมายถึงอัตภาพ (ขุ.ธ.อ. ๕/๑๑๖) @ เมื่อไม่พบ ในที่นี้หมายถึงไม่พบโพธิญาณ (ขุ.ธ.อ. ๕/๑๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๑. ชราวรรค ๙. มหาธนเสฏฐิปุตตวัตถุ

[๑๕๔] นายช่างเอ๋ย เราพบท่านแล้ว๑- ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก ซี่โครง๒- ทุกซี่ของท่าน เราหักแล้ว ยอดเรือน๓- เราก็รื้อแล้ว จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว๔-
๙. มหาธนเสฏฐิปุตตวัตถุ
เรื่องบุตรเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภบุตรเศรษฐีผู้ใช้สอยทรัพย์สมบัติจนหมด จึงตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนท์ ดังนี้) [๑๕๕] พวกคนโง่เขลาไม่ประพฤติตนให้เป็นคนดี ในวัยหนุ่มสาวก็ไม่ได้หาทรัพย์ไว้ ย่อมซบเซา เหมือนนกกระเรียนแก่ซบเซาอยู่ที่เปือกตมไร้ปลา ฉะนั้น [๑๕๖] พวกคนโง่เขลาไม่ประพฤติตนให้เป็นคนดี ในวัยหนุ่มสาวก็ไม่ได้หาทรัพย์ไว้ ย่อมนอนรำพึงถึงความหลัง ดุจลูกธนูที่พ้นจากแล่ง ฉะนั้น
ชราวรรคที่ ๑๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงพบตัณหานั้นได้ด้วยความรู้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณ (ขุ.ธ.อ. ๕/๑๑๖) @ ซี่โครง ในที่นี้หมายถึงกิเลสเหล่าอื่นทั้งหมด (ขุ.ธ.อ. ๕/๑๑๖) @ ยอดเรือน ในที่นี้หมายถึงอวิชชา (ขุ.ธ.อ. ๕/๑๑๖) @ พระคาถานี้จัดเป็นปฐมพุทธพจน์ (วิ.อ. ๑/๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๘๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๗-๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=20              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=662&Z=691                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=21              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=21&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=22&A=1836              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=21&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=22&A=1836                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i021-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i021-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.11.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.11.budd.html https://suttacentral.net/dhp146-156/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp146-156/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp146-156/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :