ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร

๔. เจโตขีลสูตร๑-
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลผู้ใดผู้ หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาด เมื่อกลางคืนหรือ กลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้๒- แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังละไม่ได้ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๓- จิตของภิกษุผู้ เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้ ๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ นี้เป็นกิเลส เครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้ ๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็นกิเลส เครื่องตรึงจิตดุจตะปู ประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้ @เชิงอรรถ : @ ดู ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑, องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๐๕-๒๐๖/๒๓๔-๒๓๕, @องฺ.นวก. ๒๓/๗๑-๗๒/๓๘๐-๓๘๑ @ พึงหวังได้ ในที่นี้หมายถึงจำต้องปรารถนา จำต้องได้ จำต้องมีแน่นอน (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๔, @องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๕/๑๕๓) @ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ @ประการ ไม่เชื่อพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร

๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา(ข้อที่จะต้องศึกษา) ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ เพียร ยังละไม่ได้ ๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ มีจิต แข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้ มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้ นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังตัดไม่ขาด อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศ จากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศ จากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อนไม่ปราศจากความอยาก ในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด ๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร

๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด ๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่อง ผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด ๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพตนใด ตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพ นิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น เทพเจ้าหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลส เครื่องผูกใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังตัดไม่ขาด กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาด เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา พึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในกาฬปักษ์(ข้างแรม)ผ่านไป ดวงจันทร์ นั้นย่อมเสื่อมจากความงาม ย่อมเสื่อมจากรัศมี ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อม จากด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร

ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาด เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา พึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ฉันนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดแล้ว เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นละได้แล้ว อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดา จิตของภิกษุ ผู้ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ๒. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ นี้เป็นกิเลส เครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ๓. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็นกิเลส เครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ๔. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ นี้เป็นกิเลส เครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ๕. เป็นผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้างใน เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิตไม่ถูกโทสะ กระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร

เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อม ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ เพียร ละได้แล้ว นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นตัดขาดแล้ว อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยาก ในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความ เร่าร้อน ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความ เพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว ๒. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว ๓. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว ๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มแล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่อง ผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร

๕. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพตน ใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยความปรารถนา เป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลส เครื่องผูกใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นตัดขาดแล้ว กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดแล้ว เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์(ข้างขึ้น) ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยความงาม ย่อมเจริญด้วยรัศมี ย่อมเจริญด้วย แสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดแล้ว เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ฉันนั้น
เจโตขีลสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๒-๒๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=428&Z=566                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=14              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=14&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7213              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=14&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7213                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i011-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an10.14/en/sujato https://suttacentral.net/an10.14/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :