ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๑๐. อรกสูตร
ว่าด้วยครูชื่ออรกะ
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่ออรกะ เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจาก ความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า “พราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย @เชิงอรรถ : @ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันซึ่งมีชื่อว่า “ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ” บ้าง @“ผู้มาสู่พระสัทธรรม” บ้าง “ผู้ประกอบด้วยฌานของพระเสขะ” บ้าง “ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ” @บ้าง “ผู้เข้าถึงกระแสธรรม” บ้าง “ผู้มีปัญญาแทงตลอด” บ้าง “ผู้ยืนจรดประตูอมตะ” บ้าง @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๑๐. อรกสูตร

พราหมณ์ หยาดน้ำค้างที่ยอดหญ้า เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ก็เหือดแห้งไปอย่าง รวดเร็ว อยู่ได้ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยหยาดน้ำค้าง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมา แล้วจะไม่ตาย พราหมณ์ เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตก ฟองน้ำย่อมแตกหายไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้ ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยฟองน้ำ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย พราหมณ์ รอยขีดในน้ำย่อมขาดหายไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยรอยขีดในน้ำ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย พราหมณ์ แม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขา มาจากที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่ พาไปได้ ไม่มีขณะ เวลา หรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด โดยที่แท้ แม่น้ำนั้นย่อมไหลบ่า เรื่อยไป แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยแม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้ว จะไม่ตาย พราหมณ์ บุรุษผู้มีกำลังอมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้นแล้ว พึงถ่มทิ้งไปโดยไม่ ยากนัก แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยก้อนเขฬะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย พราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่เขาใส่ไว้ในกระทะเหล็กที่ถูกเผาไฟตลอดทั้งวัน ย่อมหดหาย ไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วย ชิ้นเนื้อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมา แล้วจะไม่ตาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๑๐. อรกสูตร

พราหมณ์ แม่โคที่จะถูกฆ่า ถูกเขานำไปสู่ที่ฆ่า ยกเท้าขึ้นคราวใด ก็ยิ่งใกล้ ถูกฆ่า ใกล้ตายเข้าไปคราวนั้น แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยแม่โค ที่จะถูกฆ่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิด มาแล้วจะไม่ตาย ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้มีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี เด็ก หญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงมีสามีได้ สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอาพาธเพียง ๖ อย่าง เท่านั้น คือ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้ และมีอาพาธน้อย อย่างนี้ ไฉนครูอรกะนั้นยังแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า “พราหมณ์ ชีวิต ของมนุษย์ มีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมา แล้วจะไม่ตาย” ภิกษุทั้งหลาย ปัจจุบันนี้ เมื่อจะกล่าวถึงชีวิตนั้นให้ถูกต้อง พึงกล่าวว่า “ชีวิต ของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย” ภิกษุทั้งหลาย ปัจจุบันนี้ ผู้มีอายุยืนจะอยู่ได้ ๑๐๐ ปี น้อยกว่านั้นก็มี มากกว่านั้นก็มี ส่วนคนที่อยู่ได้ถึง ๑๐๐ ปี จะอยู่ได้ ๓๐๐ ฤดูเท่านั้น คือ ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน ๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐ คนที่อยู่ได้ถึง ๓๐๐ ฤดู จะอยู่ได้ถึง ๑,๒๐๐ เดือน คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ ฤดูร้อน ๔๐๐ ฤดูฝน ๔๐๐ คนที่อยู่ได้ถึง ๑,๒๐๐ เดือน จะอยู่ได้ถึง ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน คือ ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูฝน ๘๐๐ กึ่งเดือน คนที่อยู่ได้ถึง ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน จะอยู่ได้ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑๒,๐๐๐ ราตรี ฤดูร้อน ๑๒,๐๐๐ ราตรี ฤดูฝน ๑๒,๐๐๐ ราตรี คนที่อยู่ได้ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี จะบริโภคอาหารได้ ๗๒,๐๐๐ มื้อ คือ ฤดูหนาว ๒๔,๐๐๐ มื้อ ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐ มื้อ ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ มื้อ นับรวม ถึงการดื่มนมมารดาและเหตุที่ทำให้ไม่ได้บริโภคอาหาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ในข้อนั้น เหตุที่ทำให้ไม่ได้บริโภคอาหารมีดังนี้ คนโกรธก็ไม่บริโภคอาหาร คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภคอาหาร คนเจ็บไข้ก็ไม่บริโภคอาหาร คนรักษาอุโบสถก็ไม่ บริโภคอาหาร และคนหาอาหารไม่ได้ก็ไม่บริโภคอาหาร ภิกษุทั้งหลาย เราได้กำหนดอายุ กำหนดประมาณอายุ กำหนดฤดู กำหนดปี กำหนดเดือน กำหนดกึ่งเดือน กำหนดราตรี กำหนดวัน กำหนดอาหาร และ กำหนดอันตรายแห่งการบริโภคอาหารของมนุษย์ผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี ด้วยประการ ฉะนี้แล ภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัย ความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุ ทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑- เธอทั้งหลายจงเพ่ง๒- อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มี วิปปฏิสาร (ความร้อนใจ) ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
อรกสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๑๐ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. หิริโอตตัปปสูตร ๒. สัตตสุริยสูตร ๓. นคโรปมสูตร ๔. ธัมมัญญูสูตร ๕. ปาริฉัตตกสูตร ๖. สักกัจจสูตร ๗. ภาวนาสูตร ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร ๙. สุเนตตสูตร ๑๐. อรกสูตร @เชิงอรรถ : @ คำว่า นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอกเสนาสนะ หรือสถานที่ที่สงัดปราศจากคน @เหมาะแก่การบำเพ็ญความเพียรแก่ภิกษุ ประหนึ่งว่า ทรงมอบมรดก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖) @ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงเจริญสมถกัมมัฏฐานโดยเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ๓๘ ประการ และเจริญวิปัสสนา- @กัมมัฏฐานโดยเพ่งขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๗๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๖๗-๑๗๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=71              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=2827&Z=2899                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=71              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=71&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4676              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=71&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4676                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i062-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.070.than.html https://suttacentral.net/an7.74/en/sujato https://suttacentral.net/an7.74/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :