ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๗. ภาวนาสูตร
ว่าด้วยภาวนา
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นประกอบภาวนาอยู่ แม้จะเกิดความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ ไม่ถือมั่นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญ อะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เปรียบเหมือนไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความ อบอุ่นไม่ดี ฟักไม่ดี แม้แม่ไก่นั้นจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ลูกของเราจะไช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากทำลายกระเปาะไข่ออกมาได้โดย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๗. ภาวนาสูตร

สวัสดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่ดี ฟักไม่ดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นประกอบภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจาก อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ แม้จะไม่เกิดความปรารถนา อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะได้เจริญ เพราะได้เจริญอะไร เพราะได้เจริญ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เปรียบเหมือนไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่กกดีแล้ว ให้ความ อบอุ่นดีแล้ว ฟักดีแล้ว แม้แม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร หนอ ลูกของเราจะใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากทำลายกระเปาะไข่ออกมาได้โดย สวัสดี’ ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากทำลาย กระเปาะไข่ออกมาได้โดยสวัสดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกดี แล้ว ให้ความอบอุ่นดีแล้ว ฟักดีแล้ว แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะ ไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๕๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗. มหาวรรค ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร

เพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะได้เจริญ เพราะได้เจริญ อะไร เพราะได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด ปรากฏแก่ช่างไม้ หรือลูกมือช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า ‘วันนี้ ด้ามมีดของเรา กร่อนไปเท่านี้ เมื่อวานนี้เท่านี้ เมื่อวานซืนเท่านี้’ ก็จริง แต่เมื่อด้ามมีดกร่อนไป เขาก็รู้ว่า กร่อนไปแล้วนั่นเอง แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่ รู้อย่างนี้ว่า ‘วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปแล้วเท่านี้ เมื่อวานนี้เท่านี้ เมื่อวานซืนเท่านี้’ ก็จริง แต่เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็รู้ว่า ‘สิ้นไปแล้ว’ นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกด้วยหวาย และขันชะเนาะแล้ว แล่นไปในน้ำตลอด ๖ เดือน พอถึงฤดูหนาว ก็ถูกเข็นขึ้นบก เครื่องผูกเรือตากลม และแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนตกชะ ย่อมชำรุดเสียหายไปโดยไม่ยาก ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สังโยชน์ ทั้งหลายย่อมระงับ ดับไปโดยไม่ยาก
ภาวนาสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๕๖-๑๕๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=68              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=2593&Z=2628                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=68              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=68&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4586              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=68&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4586                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i062-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an7.71/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :