ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๙. ปฐมอคารวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ไม่เคารพ สูตรที่ ๑
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่มีความ เคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม ๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. เสขพลวรรค ๙. ปฐมอคารวสูตร

๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม ๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม ๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม ๒. ภิกษุผู้มีหิริ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม ๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม ๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม ๕. ภิกษุผู้มีปัญญา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
ปฐมอคารวสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๑-๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=139&Z=154                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=9              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=9&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=59              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=9&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=59                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i001-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an5.9/en/sujato https://suttacentral.net/an5.9/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :