ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๔
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อ ละภัยเหล่านั้นเสีย @เชิงอรรถ : @ โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) @ ปวิเวก ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร

ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบที่จีวรสวยงาม เมื่อชอบจีวรที่ สวยงาม ก็จักละความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะ อันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม หลายอย่าง เพราะจีวรเป็นเหตุ ภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย ๒. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่มีรสอร่อย เมื่อชอบ บิณฑบาตที่มีรสอร่อย ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่ หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสเลิศอร่อย และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสมหลายอย่าง เพราะ บิณฑบาตเป็นเหตุ ภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย ๓. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่สวยงาม เมื่อชอบ เสนาสนะที่สวยงาม ก็จักละการอยู่ป่าเป็นวัตร จักละเสนาสนะอัน เงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม หลายอย่าง เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ ภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย ๔. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา๑- และ เหล่าสามเณร เมื่ออยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา และเหล่า @เชิงอรรถ : @ นางสิกขมานา หมายถึงสามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีแล้วอีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์สวดให้ @สิกขาสมมติ คือตกลงให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ ตั้งแต่ ปาณาติปาตา เวรมณี ถึง วิกาลโภชนา @เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลยตลอดเวลา ๒ ปีเต็ม (ถ้าล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทาน @ตั้งต้นไปใหม่อีก ๒ ปี) ในระหว่างที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการนี้ เรียกว่า นางสิกขมานา @(วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๐๗๘-๑๐๗๙/๒๙๗-๒๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘เธอเหล่านั้นจักไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืน สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์’ ภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย ๕. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร เมื่ออยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘เธอเหล่านั้นจักบริโภคของที่สะสมไว้หลายอย่าง จักทำนิมิตอย่าง หยาบไว้ที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง๑-’ ภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จัก เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย เหล่านั้นเสีย
จตุตถอนาคตภยสูตรที่ ๑๐ จบ
โยธาชีววรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร ๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร ๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร ๔. ทุติยธัมมวิหารีสูตร ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร ๗. อนาคตภยสูตร ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร ๙. ตติยอนาคตภยสูตร ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร @เชิงอรรถ : @ หมายถึงการสั่งให้ขุดดิน ให้ตัดต้นไม้ กิ่งไม้ และใบหญ้า ซึ่งจะเป็นเหตุให้ต้องอาบัติ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๐/๔๐-๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๔๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๔๖-๑๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=80              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2460&Z=2507                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=80              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=80&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=918              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=80&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=918                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i071-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.080.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/05/an05-080.html https://suttacentral.net/an5.80/en/sujato https://suttacentral.net/an5.80/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :