ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ ๑
[๗๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้อยู่ด้วยธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม’ ภิกษุ ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอปล่อยให้ วันคืนล่วงเลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียน ธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้ เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ ด้วยธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร

๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้ เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการสาธยายธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้ อยู่ด้วยธรรม ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรม ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เธอปล่อยให้วันคืนล่วง เลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะ การตรึกตามธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอไม่ปล่อย ให้วันคืนล่วงเลยไป ไม่ละการหลีกเร้นอยู่ ตามประกอบความสงบใจ ภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม อย่างนี้แล เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเรียนธรรม ผู้มากด้วยการแสดงธรรม ผู้มากด้วย การสาธยายธรรม ผู้มากด้วยการตรึกธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุ กิจใดที่ศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงทำแก่สาวก ทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑- เธอจง เพ่ง๒- อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มีวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)ในภายหลังเลย นี้เป็น อนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
ปฐมธัมมวิหารีสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ คำว่า นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมอบมรดก คือเสนาสนะ หรือสถานที่ที่สงัด @ปราศจากคน เหมาะแก่การบำเพ็ญความเพียรแก่ภิกษุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖) @ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงเจริญสมถกัมมัฏฐานโดยเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ๓๘ ประการ และเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน @โดยเพ่งขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๒๓-๑๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=73              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2024&Z=2057                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=73              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=73&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=798              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=73&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=798                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i071-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.073.than.html https://suttacentral.net/an5.73/en/sujato https://suttacentral.net/an5.73/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :