ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. สีหนาทสูตร๑-
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็น เหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท๒- @เชิงอรรถ : @ ดูมหาสีหนาทสูตร (ม.มู. ๑๒/๑๔๘/๑๐๗-๑๑๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑/๔๓) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒-๕ ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๑ (อนนุสสุตสูตร) หน้า ๑๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๑๐. สีหนาทสูตร

กำลังของตถาคต ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะ โดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร ในบริษัท ๒. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด วิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดย ฐานะโดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร ในบริษัท ๓. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง๑- ความผ่องแผ้ว๒- แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ๓- และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ สมาบัติตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการ ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง นี้เป็น @เชิงอรรถ : @ ความเศร้าหมอง ในที่นี้หมายถึงธรรมฝ่ายเสื่อมได้แก่กาม วิตก วิจาร และปีติ เป็นต้น ที่เป็นอุปสรรค @ต่อการเจริญฌานตามลำดับขั้นของผู้ที่มีฌานยังไม่คล่องแคล่ว (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙, @องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๑/๓๙๒) และดู องฺ.นวก. ๒๓/๔๑/๓๖๒-๓๖๙ @ ความผ่องแผ้ว ในที่นี้หมายถึงธรรมฝ่ายเจริญ ได้แก่ การสงัดจากกาม การระงับวิตกวิจาร การจางคลาย @ไปแห่งปีติ เป็นต้น ซึ่งเป็นคุณต่อการเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไปของผู้ที่มีฌานคล่องแคล่ว @(องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๑/๓๙๒) และดู องฺ.นวก. ๒๓/๔๑/๓๖๒-๓๖๙ @ ในคำว่า “ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ” นี้ ฌาน หมายถึงฌาน ๔ (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน @จตุตถฌาน) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ ๘ มีข้อว่า ‘ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย’ @เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๑, องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๑๙/๒๘๙ สมาธิ หมายถึง @สมาธิ ๓ คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร) อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มี @วิตกมีเพียงวิจาร) อวิตักกาวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และดู ขุ.ป. @๓๑/๔๓/๕๐ สมาบัติ หมายถึงอนุปุพพสมาบัติ ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ @(องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และดู องฺ.นวก. ๒๓/๓๒/๓๓๖, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๑๐. สีหนาทสูตร

กำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือ สีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท ๔. ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติ อย่างนี้ การที่ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคต อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร ในบริษัท ๕. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อัน บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ นี้เป็น กำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสี หนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ๖. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน การที่ตถาคต ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของ ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท ภิกษุทั้งหลาย บรรดากำลังของตถาคต ๖ ประการนั้น หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณ รู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้น ตามที่ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะและอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความ เป็นจริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๑๐. สีหนาทสูตร

หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือ กรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะโดยเหตุ ตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะโดยเหตุตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่ตถาคต รู้แจ้งญาณรู้ชัดวิบากแห่งการยึดกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัด ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการ ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่ ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและ สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดความระลึกชาติก่อนได้ ตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัดความระลึกชาติก่อน ได้ตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัดความระลึกชาติก่อน ได้ตามความเป็นจริง หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดการจุติและการเกิดของ หมู่สัตว์ตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัดการจุติและ การเกิดของหมู่สัตว์ตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัด การจุติและการเกิดของหมู่สัตว์ตามความเป็นจริง หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัดความสิ้นอาสวะตาม ความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัดความสิ้นอาสวะตาม ความเป็นจริง เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความ เป็นจริงนั้น เป็นของบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็น สมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และ ปัจจุบันโดยฐานะโดยเหตุตามความเป็นจริงนั้น เป็นของบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัตินั้น เป็นของบุคคล ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดความระลึกชาติก่อนได้ตามความเป็นจริงนั้น เป็นของ บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดจุติและการเกิดของหมู่สัตว์ตามความเป็นจริงนั้น เป็น ของบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดความสิ้นอาสวะทั้งหลายตามความเป็นจริงนั้น เป็นของ บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย สมาธิเป็นมรรค๑- อสมาธิเป็นกุมมรรค๒- ด้วยประการฉะนี้แล
สีหนาทสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๖ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โสณสูตร ๒. ผัคคุณสูตร ๓. ฉฬภิชาติสูตร ๔. อาสวสูตร ๕. ทารุกัมมิกสูตร ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร ๗. มัชเฌสูตร ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร ๙. นิพเพธิกสูตร ๑๐. สีหนาทสูตร @เชิงอรรถ : @ มรรค ในที่นี้หมายถึงอุบายแห่งการบรรลุญาณทั้งหลาย ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๔/๑๕๐-๑๕๑) และดู อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๒๐๖/๑๗๔, ๔๘๖/๓๗๑ @ กุมมรรค ในที่นี้หมายถึงมิจฉามรรค กล่าวคือทางผิดจากการบรรลุญาณทั้งหลาย ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ (เห็น @ผิด) มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) @มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) มิจฉาสติ (ระลึกผิด) มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๔/๑๕๐-๑๕๑) @และดู อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๙๓๖/๕๘๖, ๙๕๖/๖๑๒-๖๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๘๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๗๙-๕๘๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=315              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=9754&Z=9852                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=335              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=335&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3386              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=335&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3386                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i326-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an6.64/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :