ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

๔. สุมนวรรค
หมวดว่าด้วยสุมนาราชกุมารี๑-
๑. สุมนสูตร
ว่าด้วยสุมนาราชกุมารี
[๓๑] สมัยหนึ่ง ฯลฯ อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สุมนาราชกุมารีมีรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คนแวดล้อม เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๒- ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คน มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน คนหนึ่งเป็นทายก๓- คนหนึ่งไม่ใช่ ทายก คนทั้งสองนั้น หลังจากตายแล้ว ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านทั้งสองผู้เป็น เทวดานั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่” @เชิงอรรถ : @ สุมนาราชกุมารี เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นมคธ เป็นพระราชกนิษฐาของพระเจ้า @ปเสนทิโกศล ที่มีพระนามว่า “สุมนา” เพราะอดีตชาติเคยถวายสักการะด้วยพวงดอกมะลิ(สุมนมาลา) @แด่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกุมารี ๕๐๐ คน ซึ่งล้วนแล้วแต่ประสูติในวันเดียวกันเป็นบริวาร @มีรถ ๕๐๐ คันเป็นพาหนะ @ในชมพูทวีป มีกุมารีเพียง ๓ นางเท่านั้นที่มีรถเป็นพาหนะถึง ๕๐๐ คัน คือ จุนทีราชกุมารี @พระธิดาของพระเจ้าพิมพิสาร, นางวิสาขา ธิดาของธนญชัยเศรษฐี และสุมนาราชกุมารี @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๑/๑๔-๑๘) @ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสม เว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป @(๓) อยู่เหนือลม (๔) อยู่สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) @ ทายก ในที่นี้หมายถึงบุคคลผู้แบ่งสิ่งที่ตนได้มาให้แก่ผู้อื่นเสียก่อนแล้วจึงบริโภคเพื่อบำเพ็ญสาราณียธรรม @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๑/๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี สุมนา คือเทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดา ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕ ประการ คือ ๑. อายุที่เป็นทิพย์ ๒. วรรณะที่เป็นทิพย์ ๓. สุขที่เป็นทิพย์ ๔. ยศที่เป็นทิพย์ ๕. อธิปไตยที่เป็นทิพย์ เทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕ ประการนี้” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดาทั้งสองนั้น จุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความ เป็นมนุษย์นี้ ท่านทั้งสองผู้เป็นมนุษย์นั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่” “มี สุมนา คือมนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย ฐานะ ๕ ประการ คือ ๑. อายุที่เป็นของมนุษย์ ๒. วรรณะที่เป็นของมนุษย์ ๓. สุขที่เป็นของมนุษย์ ๔. ยศที่เป็นของมนุษย์ ๕. อธิปไตยที่เป็นของมนุษย์ มนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕ ประการนี้” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านทั้งสองผู้ เป็นบรรพชิตนั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่” “มี สุมนา บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย ฐานะ ๕ ประการ คือ ๑. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย ๒. เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงฉันน้อย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

๓. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย ๔. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่ ขอร้องจึงใช้สอยน้อย ๕. อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนพรหมจารีเหล่านั้นก็ ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเป็นที่พอใจ เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็น ส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕ ประการนี้” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัตตผล ท่านทั้งสองผู้บรรลุ อรหัตตผล พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่” “สุมนา เราไม่กล่าวว่าแตกต่างกันเลยในระหว่างวิมุตติกับวิมุตติ๑-” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อนี้กำหนดได้ว่า ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่ บรรพชิต” “อย่างนั้น สุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า @เชิงอรรถ : @ หมายถึงวิมุตติของคนหนึ่งกับวิมุตติของอีกคนหนึ่ง ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องสภาวธรรม ท่านเปรียบว่า @เด็กวัย ๘ ขวบ กับภิกษุเถระ ๑๐๐ พรรษา ก็สามารถรู้แจ้งแทงตลอดวิมุตติได้เสมอกัน @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๑/๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร

ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาสธาตุ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งสิ้นในโลกด้วยรัศมี ฉันใด๑- บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรุ่งเรืองกว่าผู้ตระหนี่ทั้งหมดในโลกด้วยจาคะ เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ มียอดตั้งร้อย ให้ฝนตกรดแผ่นดินเต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ๒- เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และโภคทรัพย์ เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
สุมนสูตรที่ ๑ จบ
๒. จุนทีสูตร
ว่าด้วยจุนทีราชกุมารี๓-
[๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๔- เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น จุนทีราชกุมารีมีรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คน แวดล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.ชา. ๒๗/๑๕๙/๔๐๓ @ สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ หมายถึงเป็นพระโสดาบัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๑/๑๙) @ หมายถึงพระราชธิดาของพระเจ้าพิมพิสาร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๑/๑๘) @ หมายถึงสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ดูรายละเอียดใน ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๑-๔๒, G.P. @MALALASEKERA, Dictionary of Pali Proper Names, London, Luzac Company Ltd, 46 Great @Russell Street, 1960.) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๕-๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=696&Z=748                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=31              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=31&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=297              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=31&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=297                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i031-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an5.31/en/sujato https://suttacentral.net/an5.31/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :