ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๑. สัทธัมมวรรค ๙. อุทายีสูตร

๙. อุทายีสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี
[๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้นแล ท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่ ท่าน พระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑- ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์ บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย ภิกษุ เมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า ๑. เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ๒- ๒. เราจักแสดงอ้างเหตุ ๓. เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู๓- ๔. เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิส๔- แสดงธรรม ๕. เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น๕- อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ คนอื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
อุทายีสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๑ (สุมนสูตร) หน้า ๒๕๖ ในเล่มนี้ @ แสดงธรรมไปตามลำดับ หมายถึงแสดงธรรมให้มีลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ เช่น แสดงเรื่องทาน @เป็นลำดับที่ ๑ แสดงเรื่องศีลเป็นลำดับที่ ๒ แสดงเรื่องสวรรค์เป็นลำดับที่ ๓ @อีกนัยหนึ่ง หมายถึงแสดงธรรมให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามที่ตั้งสุตตบท หรือคาถาบทไว้ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐) @ อาศัยความเอ็นดู หมายถึงการอนุเคราะห์ด้วยคิดว่า “จักเปลื้องเหล่าสัตว์ผู้มีความคับแค้นมากให้พ้น @จากความคับแค้น” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐) @ ไม่เพ่งอามิส หมายถึงไม่มุ่งหวังลาภคือปัจจัย ๔ เพื่อตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐) @ ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น หมายถึงไม่แสดงธรรมยกตนข่มท่าน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๖๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๖๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=159              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4301&Z=4316                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=159              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=159&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1337              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=159&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1337                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i151-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.159.than.html https://suttacentral.net/an5.159/en/sujato https://suttacentral.net/an5.159/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :