ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๒. อารภติสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ต้องอาบัติ
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ๒- มีวิปปฏิสาร (ความร้อนใจ) และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ๓- ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง @เชิงอรรถ : @ ธรรมดำ หมายถึงกายทุจริตเป็นต้น ธรรมขาว หมายถึงกายสุจริตเป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๓๔/๑๙๖, @ขุ.ธ.อ. ๔/๕๑-๕๒) @ ต้องอาบัติ (อารภติ) ฎีกาอธิบายว่า อารมฺภ ศัพท์ มีความหมายหลายนัยดังนี้ คือ (๑) มีความหมายว่า @กรรม เช่น ประโยคว่า “ยํ กิญฺจิ ทุกฺขํ สมฺโภติ สพฺพํ อารมฺภปจฺจยา” แปลว่า “ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง @เกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย” (ขุ.สุ. ๒๕/๗๕๐/๔๘๑) (๒) มีความหมายว่า @กิริยา เช่น ประโยคว่า “มหารมฺภา มหายญฺญา น เต โหนฺติ มหปฺผลา” แปลว่า “มหายัญที่มีกิริยา @มากเหล่านั้น ย่อมไม่มีผลมาก” (สํ.ส. ๑๕/๑๒๐/๙๒, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๙/๖๔) (๓) มีความหมายว่า @เบียดเบียน เช่น ประโยคว่า “สมณํ โคตมํ อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภนฺติ” แปลว่า “ย่อมเบียดเบียนสัตว์อุทิศ @พระสมณโคดม” (ม.ม. ๑๓/๕๒/๓๔) (๔) มีความหมายว่า เพียร เช่น ประโยคว่า “อารมฺภถ นิกฺขมถ, ยุญฺชถ @พุทฺธสาสเน” แปลว่า “ท่านทั้งหลายจงเพียร จงออก จงประกอบในพระพุทธศาสนา” (สํ.ส. ๑๕/๑๘๕/๑๘๘) @(๕) มีความหมายว่า พราก เช่น ประโยคว่า “พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต โหติ” แปลว่า “เว้นขาด @จากการพรากพืชคาม และภูตคาม” (ที.สี. (แปล) ๙/๑๐/๔, ม.มู. ๑๒/๒๙๓/๒๕๗) (๖) มีความหมายว่า @ต้องอาบัติ เช่น ประโยคว่า “อารภติ จ วิปฺปฏิสารี จ โหติ” แปลว่า “บุคคลต้องอาบัติและมีวิปปฏิสาร” @(องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๔๒/๒๓๔, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๙๑/๒๑๘) @เพราะฉะนั้นในที่นี้ จึงแปลว่า ต้องอาบัติ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๔๒-๑๔๓/๕๙) @ เจโตวิมุตติ หมายถึงอรหัตตสมาธิ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลญาณ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๒. อารภติสูตร

๒. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ แต่ไม่มีวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัด เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ๓. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ แต่มีวิปปฏิสาร และไม่รู้ ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ๔. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ และไม่มีวิปปฏิสาร แต่ไม่ รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ๕. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ ไม่มีวิปปฏิสาร และรู้ชัด เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคล ๕ จำพวกนั้น๑- บุคคลใดต้องอาบัติ มีวิปปฏิสาร และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น แล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่ เกิดเพราะความการต้องอาบัติของท่านยังมีอยู่ อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่าน ยังเจริญอยู่ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ๒- จงบรรเทาอาสวะที่เกิด เพราะวิปปฏิสารแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา๓- เพราะการเจริญ อย่างนี้ ท่านก็จักเป็น ผู้ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕ ๔- โน้น’ (๑) @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๙๑/๒๑๘ @ ละอาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ หมายถึงละอาสวะทั้งหลายที่เกิดเพราะการล่วงละเมิดสิกขาบทที่ @ทรงบัญญัติไว้ ด้วยการแสดงอาบัติเบา (เทสนาวิธี) หรือวิธีปฏิบัติเพื่อเปลื้องตนจากอาบัติหนักขั้นสังฆาทิเสส @(วุฏฐานวิธี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๖) @ เจริญจิตและปัญญา หมายถึงเพิ่มพูนวิปัสสนาจิต และเพิ่มพูนปัญญาที่ประกอบด้วยวิปัสสนาจิต @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๖) @ บุคคลจำพวกที่ ๕ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. ติกัณฑกีวรรค ๒. อารภติสูตร

บุคคลใดต้องอาบัติ แต่ไม่มีวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็น ที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติของท่านยังมีอยู่ อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่านไม่เจริญ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิดเพราะการ ต้องอาบัติแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา เพราะการเจริญอย่างนี้ ท่านก็จักเป็นผู้ ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น’ (๒) บุคคลใดไม่ต้องอาบัติ แต่มีวิปปฏิสาร และไม่รู้ชัดเจโตวุมิตติ ปัญญาวิมุตติอัน เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึง เป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติของท่านไม่มี แต่อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่านยังเจริญอยู่ ขอท่านจงบรรเทาอาสวะที่เกิด เพราะวิปปฏิสารแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา เพราะการเจริญอย่างนี้ ท่านก็จักเป็นผู้ ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น’ (๓) บุคคลใดไม่ต้องอาบัติ และไม่มีวิปปฏิสาร แต่ไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญา- วิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ ของท่านไม่มี อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่านก็ไม่เจริญ ขอท่านจงเจริญจิต และปัญญา เพราะการเจริญอย่างนี้ ท่านก็จักเป็นผู้ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น’ (๔) ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล ถูกตักเตือนพร่ำสอนโดยเทียบกับบุคคล จำพวกที่ ๕ โน้น อย่างนี้ ย่อมบรรลุความสิ้นอาสวะโดยลำดับ
อารภติสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๓๔-๒๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=142              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=3867&Z=3913                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=142              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=142&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1239              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=142&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1239                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i141-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an5.142/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :