ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร

๑๐. กกุธเถรสูตร
ว่าด้วยกกุธเทพบุตรกับพระมหาโมคคัลลานะ
[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๑- ชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่ เหมือนคามเขตในแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาจึงไม่ทำตนให้ เดือดร้อน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัต เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจาก ฤทธิ์นั้นพร้อมกับจิตตุปบาท’ กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ท่านพระมหา- โมคคัลลานะทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุตรของเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของ ข้าพระองค์ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ ได้อัตภาพใหญ่เหมือนคามเขตในแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาจึงไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ต่อมากกุธเทพบุตรได้เข้าไป หาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์ ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักปกครอง @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๔ (มนาปทายีสูตร) หน้า ๗๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร

ภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้นพร้อมกับจิตตุปบาท’ กกุธเทพบุตร ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ข้าพระองค์ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอกำหนดรู้กกุธเพพบุตรด้วย ใจดีแล้วหรือว่า ‘กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้น ทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น” ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ กำหนดรู้กกุธเทพบุตรด้วยใจดีแล้วว่า ‘กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้น ทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น โมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษ๑- นั้นจักทำตนให้ปรากฏด้วยตนเอง โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ศาสดา ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า “เรา เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง’ แต่ถ้าพวกเราจักบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่ พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้ โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยศีล @เชิงอรรถ : @ โมฆบุรุษ (บุรุษเปล่า) เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกภิกษุที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ตุจฺฉปุริโส) @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๐/๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร

๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า หมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่ บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเรา บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวก คฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่าน ไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้ จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษา ศาสดาเช่นนี้โดยอาชีพ และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวก สาวกโดยอาชีพ ๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา ว่า “เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดา ท่านนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้มี ธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า หมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจ ของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- ปัจจัยเภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเอง ก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้โดยธรรม เทศนา และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยธรรม- เทศนา ๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญา ว่า “เราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร

ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดา ท่านนี้เป็นผู้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญณาว่า ‘เราเป็นผู้มี เวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า หมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจ ของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย เภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จัก ปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้โดยเวยยากรณะ และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยเวยยากรณะ ๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญา ว่า “เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดา ท่านนี้เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้ มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็น ที่พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้โดย ญาณทัสสนะ และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดย ญาณทัสสนะ โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก โมคคัลลานะ เรามีศีลบริสุทธิ์จึงปฏิญญาว่า“เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเรา บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ไม่หวังการ รักษาจากพวกสาวกโดยศีล เรามีอาชีพบริสุทธิ์จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีอาชีพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. กกุธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดย อาชีพ และเราก็ไม่หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยอาชีพ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดยธรรมเทศนา และเราก็ไม่หวัง การรักษาจากพวกสาวกโดยธรรมเทศนา เรามีเวยยากรณะบริสุทธิ์จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า หมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดยเวยยากรณะ และเราก็ไม่หวังการรักษาจากพวก สาวกโดยเวยยากรณะ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์จึงปฏิญาณว่า “เราเป็นผู้มีญาณ- ทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก สาวกไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาจากพวกสาวกโดย ญาณทัสสนะ
กกุธเถรสูตรที่ ๑๐ จบ
กกุธวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมสัมปทาสูตร ๒. ทุติยสัมปทาสูตร ๓. พยากรณสูตร ๔. ผาสุวิหารสูตร ๕. อกุปปสูตร ๖. สุตธรสูตร ๗. กถาสูตร ๘. อารัญญกสูตร ๙. สีหสูตร ๑๐. กกุธเถรสูตร
ทุติยปัณณาสก์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๗๐-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=100              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2820&Z=2922                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=100              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=100&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1013              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=100&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1013                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i091-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an5.100/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :