ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๔. อัคคัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้ ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าเรากล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้าชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่ บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๒. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ เรากล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใส ในสิ่งที่เลิศ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค ๔. อัคคัปปสาทสูตร

๓. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งหรือธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณ เท่าใด วิราคะ (ความคลายกำหนัด) คือ ความสร่างความเมา ความดับความกระหาย ความถอนอาลัย ความตัดวัฏฏะ ความ สิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน๑- เรา กล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่า เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่ง ที่เลิศ ๔. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด พระสงฆ์สาวกของตถาคต ได้แก่ พระอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๒- พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด เยี่ยมของโลก เรากล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้ เลื่อมใสในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมี แก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้แล บุญที่เลิศ คือ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และพละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๙/๒๗ @ ได้แก่ (๑) พระผู้บรรลุโสดาปัตติผล (๒) พระผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค (๓) พระผู้บรรลุสกทาคามิผล @(๔) พระผู้ดำรงอยู่ในสกทาคามิมรรค (๕) พระผู้บรรลุอนาคามิผล (๖) พระผู้ดำรงอยู่ในอนาคามิมรรค @(๗) พระผู้บรรลุอรหัตตผล (๘) พระผู้ดำรงอยู่ในอรหัตตมรรค (อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค ๕. วัสสการสูตร

ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศ อันเป็นที่คลายความกำหนัด เป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้ ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ให้ทานในท่านผู้เลิศ นักปราชญ์ผู้ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ๑- บันเทิงอยู่
อัคคัปปสาทสูตรที่ ๔ จบ
๕. วัสสการสูตร
ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์
[๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้น มคธเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคลในโลกนี้ ๑. เป็นพหูสูตแห่งเรื่องที่ฟังนั้นๆ รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า ‘นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้’ @เชิงอรรถ : @ ความเป็นผู้เลิศ หมายถึงเกิดในหมู่สัตว์ใดๆ ก็ถึงความเป็นผู้เลิศ ความเป็นผู้ประเสริฐในหมู่สัตว์นั้นๆ @หรือได้บรรลุมรรคผลอันเป็นโลกุตตระ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๔/๓๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๕๓-๕๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=912&Z=944                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=34              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=34&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7749              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=34&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7749                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e.php#sutta4 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i031-e2.php#sutta4 https://suttacentral.net/an4.34/en/sujato https://suttacentral.net/an4.34/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :