ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๗. กัมมปถวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมบถ
๑. ปาณาติปาตีสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่าสัตว์และผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
[๒๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์ ๔. กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๗. กัมมปถวรรค ๒. อทินนาทายีสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปาณาติปาตีสูตรที่ ๑ จบ
๒. อทินนาทายีสูตร
ว่าด้วยผู้ลักทรัพย์และผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
[๒๖๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์ ๔. กล่าวสรรเสริญการลักทรัพย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๗. กัมมปถวรรค ๓.มิจฉาจารีสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อทินนาทายีสูตรที่ ๒ จบ
๓. มิจฉาจารีสูตร
ว่าด้วยผู้ประพฤติผิดในกามและผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
[๒๖๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ๓. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม ๔. กล่าวสรรเสริญการประพฤติผิดในกาม ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๗. กัมมปถวรรค ๕. ปิสุณวาจาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาจารีสูตรที่ ๓ จบ
๔. มุสาวาทีสูตร
ว่าด้วยผู้พูดเท็จและผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
[๒๖๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ๓. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ ๔. กล่าวสรรเสริญการพูดเท็จ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มุสาวาทีสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปิสุณวาจาสูตร
ว่าด้วยผู้พูดส่อเสียดและผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
[๒๖๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๗. กัมมปถวรรค ๖.ผรุสวาจาสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ๓. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด ๔. กล่าวสรรเสริญการพูดส่อเสียด ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปิสุณวาจาสูตรที่ ๕ จบ
๖. ผรุสวาจาสูตร
ว่าด้วยผู้พูดคำหยาบและผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
[๒๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ๓. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ ๔. กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๗. กัมมปถวรรค ๗. สัมผัปปลาปสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ผรุสวาจาสูตรที่ ๖ จบ
๗. สัมผัปปลาปสูตร
ว่าด้วยผู้พูดเพ้อเจ้อและผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
[๒๗๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ ๓. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ ๔. กล่าวสรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๔. กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
สัมผัปปลาปสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๗. กัมมปถวรรค ๙. พยาปันนจิตตสูตร

๘. อภิชฌาลุสูตร
ว่าด้วยผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขาและผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
[๒๗๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๔. กล่าวสรรเสริญความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๔. กล่าวสรรเสริญความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อภิชฌาลุสูตรที่ ๘ จบ
๙. พยาปันนจิตตสูตร
ว่าด้วยผู้มีจิตพยาบาทและผู้มีจิตไม่พยาบาท
[๒๗๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๗. กัมมปถวรรค ๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท ๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท ๔. กล่าวสรรเสริญความมีจิตพยาบาท ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท ๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท ๔. กล่าวสรรเสริญความมีจิตไม่พยาบาท ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
พยาปันนจิตตสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิและผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
[๒๗๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๓. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๔. กล่าวสรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๘. ราคเปยยาล ๑. สติปัฏฐานสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ๓. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ ๔. กล่าวสรรเสริญความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑๐ จบ
กัมมปถวรรคที่ ๗ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปาณาติปาตีสูตร ๒. อทินนาทายีสูตร ๓. มิจฉาจารีสูตร ๔. มุสาวาทีสูตร ๕. ปิสุณวาจาสูตร ๖. ผรุสวาจาสูตร ๗. สัมผัปปลาปสูตร ๘. อภิชฌาลุสูตร ๙. พยาปันนจิตตสูตร ๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๘๑-๓๘๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=143              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=6723&Z=6784                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=264              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=264&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=10258              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=264&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=10258                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i264-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i264-e2.php# https://suttacentral.net/an4.264/en/sujato https://suttacentral.net/an4.265/en/sujato https://suttacentral.net/an4.266/en/sujato https://suttacentral.net/an4.267/en/sujato https://suttacentral.net/an4.268/en/sujato https://suttacentral.net/an4.269/en/sujato https://suttacentral.net/an4.270/en/sujato https://suttacentral.net/an4.271/en/sujato https://suttacentral.net/an4.272/en/sujato https://suttacentral.net/an4.273/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :