ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๓. ทุจจริตวรรค ๒. ทิฏฐิสูตร

๓. ทุจจริตวรรค
หมวดว่าด้วยทุจริตและสุจริต
๑. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริตและสุจริต
[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้ วจีทุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) ๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้ วจีสุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัจจวาจา (พูดจริง) ๒. อปิสุณาวาจา (พูดไม่ส่อเสียด) ๓. สัณหวาจา (พูดอ่อนหวาน) ๔. มันตภาสา๑- (พูดด้วยปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้แล
ทุจจริตสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๒๒๒] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ ติเตียนและประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๔๙ (สุจริตสูตร) หน้า ๒๑๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๓. ทุจจริตวรรค ๓. อกตัญญุตาสูตร

๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย) ๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) ๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ) ๔. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก ผู้รู้ติเตียนและประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย) ๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา) ๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ) ๔. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียนและประสพบุญเป็นอันมาก
ทิฏฐิสูตรที่ ๒ จบ
๓. อกตัญญุตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ไม่รู้คุณและความเป็นผู้รู้คุณ
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ ติเตียนและประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๓. ทุจจริตวรรค ๕. ปฐมมัคคสูตร

๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต ๓. มโนทุจริต ๔. อกตัญญุตา อกตเวทิตา๑- ฯลฯ๒- ๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต ๓. มโนสุจริต ๔. กตัญญุตา กตเวทิตา ฯลฯ๒-
อกตัญญุตาสูตรที่ ๓ จบ
๔. ปาณาติปาตีสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่าสัตว์และผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
[๒๒๔] ฯลฯ๒- ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ ฯลฯ๒- ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ๒-
ปาณาติปาตีสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค สูตรที่ ๑
[๒๒๕] ฯลฯ๒- ๑. มีมิจฉาทิฏฐิ ๒. มีมิจฉาสังกัปปะ ๓. มีมิจฉาวาจา ๔. มีมิจฉากัมมันตะ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๑๓ (อกตัญญุตาสูตร) หน้า ๓๓๓ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๑๒ (ทิฏฐิสูตร) หน้า ๓๓๒-๓๓๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๓. ทุจจริตวรรค ๗. ปฐมโวหารปถสูตร

ฯลฯ๑- ๑. มีสัมมาทิฏฐิ ๒. มีสัมมาสังกัปปะ ๓. มีสัมมาวาจา ๔. มีสัมมากัมมันตะ ฯลฯ๑-
ปฐมมัคคสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค สูตรที่ ๒
[๒๒๖] ฯลฯ๑- ๑. มีมิจฉาอาชีวะ ๒. มีมิจฉาวายามะ ๓. มีมิจฉาสติ ๔. มีมิจฉาสมาธิ ฯลฯ๑- ๑. มีสัมมาอาชีวะ ๒. มีสัมมาวายามะ ๓. มีสัมมาสติ ๔. มีสัมมาสมาธิ ฯลฯ๑-
ทุติยมัคคสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมโวหารปถสูตร๒-
ว่าด้วยครรลองแห่งโวหาร สูตรที่ ๑
[๒๒๗] ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ฯลฯ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๑๒ (ทิฏฐิสูตร) หน้า ๓๓๒-๓๓๓ ในเล่มนี้ @ ดูข้อ ๒๑๗ (ปฐมโวหารปถสูตร) หน้า ๓๓๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๓. ทุจจริตวรรค ๘. ทุติยโวหารปถสูตร

๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ฯลฯ๒-
ปฐมโวหารปถสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยโวหารปถสูตร๒-
ว่าด้วยครรลองแห่งโวหาร สูตรที่ ๒
[๒๒๘] ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้ ฯลฯ๑-
ทุติยโวหารปถสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๑๒ (ทิฏฐิสูตร) หน้า ๓๓๒-๓๓๓ ในเล่มนี้ @ ดูข้อ ๒๑๘ (ทุติยโวหารปถสูตร) หน้า ๓๓๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๓. ทุจจริตวรรค ๑๐. ทุปปัญญสูตร

๙. อหิริกสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่มีหิริและผู้มีหิริ
[๒๒๙] ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล ๓. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๔. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล ๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ฯลฯ๑-
อหิริกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุปปัญญสูตร
ว่าด้วยผู้มีปัญญาทรามและผู้มีปัญญา
[๒๓๐] ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล ๓. เป็นผู้เกียจคร้าน ๔. เป็นผู้มีปัญญาทราม ฯลฯ๑- ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล ๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๔. เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียนและประสพบุญเป็นอันมาก
ทุปปัญญสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๑๒ (ทิฏฐิสูตร) หน้า ๓๓๒-๓๓๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๓. ทุจจริตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. กวิสูตร
ว่าด้วยกวี
[๒๓๑] ภิกษุทั้งหลาย กวี ๔ จำพวกนี้ กวี ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. จินตากวี๑- ๒. สุตกวี๒- ๓. อัตถกวี๓- ๔. ปฏิภาณกวี๔- ภิกษุทั้งหลาย กวี ๔ จำพวกนี้แล
กวิสูตรที่ ๑๑ จบ
ทุจจริตวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ทุจจริตสูตร ๒. ทิฏฐิสูตร ๓. อกตัญญุตาสูตร ๔. ปาณาติปาตีสูตร ๕. ปฐมมัคคสูตร ๖. ทุติยมัคคสูตร ๗. ปฐมโวหารปถสูตร ๘. ทุติยโวหารปถสูตร ๙. อหิริกสูตร ๑๐. ทุปปัญญสูตร ๑๑. กวิสูตร @เชิงอรรถ : @ จินตากวี คือ ผู้รู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน ตามแนวความคิดของตน @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๑-๒๓๑/๔๔๐) @ สุตกวี คือ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์ตามที่ได้ฟังมา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๑-๒๓๑/๔๔๐) @ อัตถกวี คือ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์ โดยอาศัยความหมายสั้นๆ แล้วขยายความให้พิสดาร @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๑-๒๓๑/๔๔๐) @ ปฏิภาณกวี คือ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์ โดยใช้ปฏิภาณของตน ในลักษณะแต่งกลอนสดเหมือน @พระวังคีสเถระ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๑-๒๓๑/๔๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๓๘-๓๔๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=139              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=6134&Z=6194                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=221              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=221&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=10092              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=221&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=10092                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i221-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i221-e2.php# https://suttacentral.net/an4.221/en/sujato https://suttacentral.net/an4.222/en/sujato https://suttacentral.net/an4.223/en/sujato https://suttacentral.net/an4.224/en/sujato https://suttacentral.net/an4.225/en/sujato https://suttacentral.net/an4.226/en/sujato https://suttacentral.net/an4.227/en/sujato https://suttacentral.net/an4.228/en/sujato https://suttacentral.net/an4.229/en/sujato https://suttacentral.net/an4.230/en/sujato https://suttacentral.net/an4.231/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :