ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. ภยวรรค ๑. อัตตานุวาทสูตร

๓. ภยวรรค
หมวดว่าด้วยภัย
๑. อัตตานุวาทสูตร
ว่าด้วยอัตตานุวาทภัย
[๑๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อัตตานุวาทภัย๑- ๒. ปรานุวาทภัย๒- ๓. ทัณฑภัย๓- ๔. ทุคติภัย๔- อัตตานุวาทภัย เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ก็ถ้าเราพึงประพฤติชั่วด้วย กาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ ไฉนเราจะติเตียนตัวเราเองโดยศีล ไม่ได้” เขากลัวภัยที่เกิดจากการติเตียนตนเอง จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า อัตตานุวาทภัย ปรานุวาทภัย เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ก็ถ้าเราพึงประพฤติชั่วด้วย กาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ ไฉนคนอื่นจะติเตียนเราโดยศีล ไม่ได้” เขากลัวภัยที่เกิดจากผู้อื่นติเตียน จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละ วจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปรานุวาทภัย @เชิงอรรถ : @ คือ ภัยที่เกิดจากการติเตียนตนเอง (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒๑/๓๗๓) @ คือ ภัยที่เกิดจากการที่ผู้อื่นติเตียน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒๑/๓๗๓) @ คือ ภัยที่เกิดจากการลงโทษ ๓๒ ประการตามนัยอรรถกถา แต่ในพระบาลีมี ๒๖ ประการ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒๑/๓๗๓) @ ภัยที่เกิดจากอบายทั้ง ๔ (คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต พวกอสูร) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒๑/๓๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. ภยวรรค ๑. อัตตานุวาทสูตร

ทัณฑภัย เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นพระราชารับสั่งให้จับโจรผู้มักประพฤติชั่วแล้ว ให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ ตะบองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหูและจมูกบ้าง ทำให้เป็นภาชนะสำหรับรองหม้อน้ำข้าวบ้าง ทำให้เกลี้ยง เกลาเหมือนสังข์บ้าง ทำให้มีปากเหมือนปากราหูบ้าง ทำให้มีพวงมาลัยไฟบ้าง ทำให้มือมีไฟลุกโชติช่วงบ้าง ทำให้เป็นเกลียวหนังเนื้อทรายบ้าง ทำให้นุ่งหนังตน เองเหมือนนุ่งผ้าขี้ริ้วบ้าง ทำให้ยืนกวางบ้าง ทำให้เหมือนเนื้อติดเบ็ดบ้าง ทำให้ เป็นชิ้นเท่ากหาปณะบ้าง ทำให้เป็นที่รับน้ำด่างบ้าง ทำให้หมุนเหมือนกลอนเหล็ก บ้าง ทำให้เป็นตั่งที่ทำด้วยฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมันร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินบ้าง ให้นอนหงายบนหลาวทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะกรรมชั่วเช่นใดเป็นเหตุ พระราชาจึงรับสั่งให้จับ โจรผู้มักประพฤติชั่วแล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัด ศีรษะด้วยดาบบ้าง” ก็ถ้าเราเองพึงทำกรรมชั่วเช่นนั้น พระราชาพึงรับสั่งให้จับเรา แล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิดอย่างนี้ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วย ดาบบ้าง เขากลัวทัณฑภัย ไม่เที่ยวแย่งชิงสิ่งของของคนอื่น นี้เรียกว่า ทัณฑภัย ทุคติภัย เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตในภพหน้า เป็นผลเลวทราม (เป็นทุกข์) ผลของวจีทุจริตในภพหน้าเป็นผลเลวทราม ผลของ มโนทุจริตในภพหน้าเป็นผลเลวทราม ก็ถ้าเราพึงประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่ว ด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ ความชั่วบางอย่างนั้นพึงเป็นเหตุให้เราหลังจากตาย แล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” เขากลัวต่อทุคติภัยจึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ทุคติภัย ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล
อัตตานุวาทสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๘๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=120              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3338&Z=3380                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=121              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=121&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8605              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=121&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8605                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i121-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i121-e2.php# https://suttacentral.net/an4.121/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :