ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๒. สารณียสูตร

๒. สารณียสูตร
ว่าด้วยสถานที่อันกษัตริย์และภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้เป็นสถานที่อันกษัตราธิราชผู้ได้รับ มูรธาภิเษก๑- แล้วพึงระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ สถานที่ ๓ แห่ง อะไรบ้าง คือ ๑. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประสูติ ณ สถานที่ใด สถาน ที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๑ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พึงระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ ๒. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ณ สถานที่ใด สถานที่นี้ เป็นสถานที่แห่งที่ ๒ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึง ระลึกถึงตลอดพระชนมชีพ ๓. กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงชนะสงครามครั้งใหญ่ พิชิตชัยสงคราม ครอบครองสนามรบใด สนามรบนี้เป็นสถานที่ แห่งที่ ๓ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึงระลึกถึงตลอด พระชนมชีพ สถานที่ ๓ แห่งนี้แลอันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วพึงระลึกถึงตลอด พระชนมชีพ อย่างนั้นเหมือนกันแล สถานที่ ๓ แห่งนี้อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต สถานที่ ๓ แห่ง อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๑ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต @เชิงอรรถ : @ มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่นๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. รถการวรรค ๓. อาสังสสูตร

๒. ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิด ทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)” ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถาน ที่แห่งที่ ๒ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต ๓. ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑- ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ณ สถานที่ใด สถานที่นี้เป็นสถานที่แห่งที่ ๓ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้แล อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
สารณียสูตรที่ ๒ จบ
๓. อาสังสสูตร
ว่าด้วยความหวังทางโลกและทางธรรม
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่หมดความหวัง ๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง ๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงผลสมาธิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงผลปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๕๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=56              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2795&Z=2819                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=451              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=451&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1844              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=451&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1844                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i450-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an3.12/en/sujato https://suttacentral.net/an3.12/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :