ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๑. ปฐมวรรค

๑๖. เอกธัมมบาลี
บาลีว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก๑-
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
[๒๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑) [๒๙๗] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ ธัมมานุสสติ(การระลึกถึงพระธรรม) ฯลฯ สังฆานุสสติ(การระลึกถึง พระสงฆ์) ฯลฯ สีลานุสสติ(การระลึกถึงศีล) ฯลฯ จาคานุสสติ(การระลึกถึงการ บริจาค) ฯลฯ เทวตานุสสติ(การระลึกถึงเทวดา) ฯลฯ อานาปานัสสติ(สติกำหนด ลมหายใจเข้าออก) ฯลฯ มรณัสสติ(การระลึกถึงความตาย) ฯลฯ กายคตาสติ(สติ อันไปในกาย) ฯลฯ อุปสมานุสสติ(การระลึกถึงธรรมอันเป็นที่สงบ) ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑๐)
ปฐมวรรค จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมอันเป็นเอก ในที่นี้หมายถึงธรรมที่มีสภาวะเป็นหนึ่ง(เอกสภาวะ) ศัพท์ว่า ธรรม นี้มีความหมายว่า @สภาวะ ดุจในคำว่า กุสลา ธมฺมา (สภาวะที่เป็นกุศล) เป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๙๖/๔๑๘, @องฺ.เอกก.ฏีกา ๑/๒๙๖/๒๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=867&Z=883                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=179              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=179&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=9994              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=179&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=9994                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i179-e.php# https://suttacentral.net/an1.296-305/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :