ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๐. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยม้าอาชาไนยและบุรุษอาชาไนย
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวก และบุรุษ อาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อัสสาชานียสูตร

ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ๑- ๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วย สีสัน และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ๓. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย วรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ฯลฯ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็น วรรณะของเขา เขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล
อัสสาชานียสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้พึงดูเนื้อความเต็มในติกนิบาต ข้อ ๑๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๙๑-๓๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=187              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7644&Z=7688                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=582              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=582&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6341              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=582&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6341                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i573-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an3.142/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :