ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. โยธาชีววรรค ๕. เกสกัมพลสูตร

๕. เกสกัมพลสูตร
ว่าด้วยวาทะของมักขลิเปรียบเหมือนผ้ากัมพลทอด้วยผมคน
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน บัณฑิตเรียกว่า เลวกว่าผ้า ที่ช่างหูกทอแล้วทุกชนิด ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน ในฤดูหนาวก็เย็น ในฤดูร้อนก็ร้อน สีไม่สวย มีกลิ่นเหม็น เนื้อผ้าไม่อ่อนนุ่ม แม้ฉันใด วาทะ๑- ของเจ้าลัทธิชื่อมักขลิก็ ฉันนั้นเหมือนกัน บัณฑิตกล่าวว่าเลวกว่าวาทะของสมณะทุกจำพวก มักขลิเป็นโมฆบุรุษ(คนไร้ค่า)มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” ตลอดอดีตกาลอันยาวนาน แม้พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆ บุรุษชื่อมักขลิกลับคัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จักมีในอนาคตก็จัก ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิกลับ คัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” แม้เราที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ยังกล่าวเรื่องกรรม กล่าวเรื่อง กิริยา กล่าวเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิก็คัดค้านแม้เราว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษชื่อมักขลิเป็นเหมือนไซดักมนุษย์ เกิดขึ้นมาในโลก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความฉิบหาย เพื่อความพินาศของสัตว์เป็นจำนวนมาก เปรียบเหมือนบุคคลพึงวางไซดักปลาไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความฉิบหาย เพื่อความพินาศของปลาเป็นจำนวนมาก
เกสกัมพลสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ(ความเชื่อถือ)ของตน ลัทธิของครูมักขลิโคสาลจัดอยู่ในประเภทนัตถิกวาทะ คือ @เห็นว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย คือจะบริสุทธิ์ก็บริสุทธิ์เอง จะเศร้าหมองก็เศร้าหมองเอง (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๖/๒๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๘๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=182              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7534&Z=7553                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=577              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=577&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6322              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=577&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6322                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i573-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an3.137/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :