ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๖. กฏุวิยสูตร
ว่าด้วยความมักใหญ่
[๑๒๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขต กรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคกำลังเที่ยวบิณฑบาตใน สำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไม่มีความแช่มชื่น๒- มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก๓- หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิต @เชิงอรรถ : @ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๑๐ ซึ่งเรียกว่าอธิศีลเพราะเทียบศีล ๕ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๘/๒๖๙) @ ไม่มีความแช่มชื่น ในที่นี้หมายถึงปราศจากความสุขที่เกิดจากฌาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๙/๒๗๐) @ มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก ในที่นี้หมายถึงมีความสุขที่เกิดจากกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส @โผฏฐัพพะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๙/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๖. กฏุวิยสูตร

ไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้ตรัสกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ” ครั้นภิกษุนั้นได้รับพระโอวาทนี้จากพระผู้มีพระภาคแล้วก็ถึงความสังเวช๑- ลำดับ นั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงพาราณสี ในเวลาภายหลังภัต เสด็จ กลับจากเที่ยวบิณฑบาตได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ในเช้าวันนี้ เรานุ่ง อันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต เรากำลังเที่ยว บิณฑบาตในสำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไม่มีความแช่มชื่น มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มี จิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่กัด ตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้น” ครั้นเรากล่าวสอนด้วยโอวาทนี้แล้วภิกษุนั้นก็ถึง ความสังเวช” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมักใหญ่คืออะไร กลิ่นดิบคืออะไร แมลงวัน คืออะไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุ ความมักใหญ่คืออภิชฌา กลิ่นดิบคือ พยาบาท แมลงวันคือบาปอกุศลวิตก ภิกษุ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ แมลงวันคือความดำริที่อิงราคะ จักไต่ตอมบุคคลที่ไม่คุ้มครองในจักขุทวารและโสตทวาร ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ ย่อมอยู่ห่างไกลจากนิพพาน มีแต่ความคับแค้นเท่านั้น @เชิงอรรถ : @ ถึงความสังเวช ในที่นี้หมายถึงเป็นพระโสดาบันเข้าสู่กระแสอริยมรรค (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๙/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๗. ปฐมอนุรุทธสูตร

คนพาลมีปัญญาทราม ถูกแมลงวันไต่ตอม ไม่ได้เพื่อนที่เสมอตน พึงเที่ยวไปในบ้านบ้าง ในป่าบ้าง ส่วนพวกที่สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในธรรมที่สงบด้วยปัญญา เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข แมลงวันย่อมไม่รบกวนเขา
กฏุวิยสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๗๗-๓๗๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=173              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7369&Z=7405                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=568              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=568&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6262              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=568&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6262                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i563-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.126.than.html https://suttacentral.net/an3.128/en/sujato https://suttacentral.net/an3.128/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :