ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๙. โลณผลสูตร
ว่าด้วยผลกรรมกับก้อนเกลือ
[๑๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใดๆ เขาต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อม มีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใดๆ เขาต้องเสวยผลของกรรมนั้น อย่าง นั้นๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุด แห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ (ชาติหน้า)๑- ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร @เชิงอรรถ : @ ดูประกอบใน องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

คือ บุคคล๑- บางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย๒- ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ ปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคล เช่นนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา๓- แล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่๔- เป็นอัปปมาณวิหารี๕- บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษใส่ก้อนเกลือลงในขันใบน้อย เธอทั้งหลาย เข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร น้ำในขันเล็กน้อยนั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่ หรือไม่ “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” “เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย น้ำนั้นจึงเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า” “บุคคลใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร แม่น้ำ คงคานั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่หรือไม่” @เชิงอรรถ : @ บุคคล ในที่นี้หมายถึงปุถุชนผู้ตกอยู่ในวงจรแห่งวัฏฏะ @ เจริญกาย ในที่นี้หมายถึงเจริญกายานุปัสสนา คือการพิจารณาอาการที่ไม่สวยไม่งาม และไม่เที่ยงแห่ง @กายเป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๑๐๑/๒๔๘) @ บุคคลผู้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพผู้สิ้นอาสวะ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓) @ มีอัตภาพใหญ่ ในที่นี้หมายถึงมีคุณมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓) @ อัปปมาณวิหารี หมายถึงผู้มีปกติอยู่อย่างไม่มีราคะ โทสะ และโมหะซึ่งเป็นกิเลสที่แสดงลักษณะหรือจริต @ของบุคคล คำนี้เป็นชื่อของพระขีณาสพ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๑/๒๕๓, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๑๐๑/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” “เพราะในแม่น้ำคงคานั้นมีห้วงน้ำใหญ่ น้ำนั้นจึงไม่เค็ม ดื่มกินได้เพราะก้อน เกลือโน้น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน กันแล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคล บางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก” บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้ทำ บาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพ ที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะ ทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง ส่วนบุคคลบาง คนในโลกนี้ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง กหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๙. โลณผลสูตร

บุคคลที่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่ง กหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย บุคคลเช่นนี้ ย่อมถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ บ้าง ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง บุคคลที่ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ หนึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก บุคคลเช่นนี้ ย่อมไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ บ้าง ไม่ถูกจองจำเพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะบ้าง ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญ ปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำ บาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผล แม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนสามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนา แต่บางคนไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้ขัดสน มีสมบัติน้อย มีโภคะ น้อย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะที่ไม่สามารถที่จะฆ่า จองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือ ทำตามที่ตนปรารถนาได้ คือเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร คือ เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เจ้าของแกะหรือคนฆ่า แกะเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะฆ่าจองจำ หรือเผาคนลักแกะ หรือทำตามที่ตนปรารถนา ได้ แท้ที่จริง คนที่ประนมมือย่อมขอเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะได้ว่า “ขอท่านจง ให้แกะหรือทรัพย์ที่มีมูลค่าเท่ากับแกะแก่ฉันด้วยเถิด” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อยเช่น นั้นแล บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรม เพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อย ในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือบุคคลเช่นไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. โลณผลวรรค ๑๐. ปังสุโธวกสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคลเช่นนี้แล ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบัน เท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญาแล้ว มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่ เป็นอัปปมาณวิหารี บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน อัตภาพที่ ๒ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก (๓) ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใดๆ เขา จะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมมีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใดๆ เขาต้องเสวยผลของกรรม นั้นอย่างนั้นๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่ จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ
โลณผลสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๓๖-๓๔๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=145              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6566&Z=6646                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=540              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=540&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5836              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=540&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5836                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i532-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.099.than.html https://suttacentral.net/an3.100/en/sujato https://suttacentral.net/an3.100/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :