ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๕. เสกขสูตร
ว่าด้วยเสกขบุคคล
[๘๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ สมัยที่พระวัชชีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคนั้น สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้มีเพียง ๑๕๐ ข้อ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๕/๒๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. สมณวรรค ๖. ปฐมสิกขาสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า “เสขะ เสขะ” บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ที่เรียกว่า “เสขะ” เพราะยังต้องศึกษา ศึกษาอะไร คือ ศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง ภิกษุ ที่เรียกว่า เสขะ เพราะยังต้องศึกษาแล ญาณ๑- ในความสิ้นกิเลสย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะ ผู้กำลังศึกษาและปฏิบัติตามทางสายตรง๒- ก่อน ลำดับต่อจากนั้นอรหัตตผลจึงเกิด ต่อจากนั้น ญาณ๓- ในความสิ้นไปแห่งภวสังโยชน์ ว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ” ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผล
เสกขสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปฐมสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๑
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ทั้งยังมีเกินขึ้นไปอีกนี้ที่กุลบุตรผู้ปรารถนา ประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน สิกขา ๓ ประการนี้เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด @เชิงอรรถ : @ ญาณ ในที่นี้หมายถึงมรรคญาณ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๖/๒๔๐-๒๔๑) @ ทางสายตรง ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๖/๒๔๐) @ ญาณ ในที่นี้หมายถึงปัจจเวกขณญาณ (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๖/๒๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=130              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6110&Z=6122                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=525              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=525&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5591              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=525&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5591                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i521-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an3.85/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :