ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท นิทานวัตถุ

๖. สุราปานวรรค
๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท
ว่าด้วยการซ่อนจีวร
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๓๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ไม่เก็บ บริขาร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเอาบาตรบ้าง จีวรบ้างของพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ไป ซ่อน พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ได้กล่าวกับพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดคืนบาตรบ้างจีวรบ้างให้แก่พวกเราเถิด” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พากัน หัวเราะ พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์พากันร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า “พวกท่านร้องไห้ทำไม” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เอาบาตร บ้าง จีวรบ้างของพวกกระผมไปซ่อน” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเอาบาตรบ้าง จีวรบ้างของภิกษุทั้งหลายไปซ่อนเล่า” ครั้นภิกษุ เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเอาบาตรบ้าง จีวรบ้างของภิกษุทั้งหลายไปซ่อน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนเธอ จึงเอาบาตรบ้าง จีวรบ้างของพวกภิกษุไปซ่อนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๓๗๘] ก็ ภิกษุใดเอาบาตรหรือจีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็มหรือประคดเอว ของภิกษุไปซ่อน ใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็.....ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุอื่น ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร ๒ ชนิด คือ (๑) บาตรเหล็ก (๒) บาตรดิน ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัปได้ เป็นอย่างต่ำ ที่ชื่อว่า ผ้าปูนั่ง พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผ้าปูนั่งมีชาย ที่ชื่อว่า กล่องเข็ม ได้แก่ กล่องที่มีเข็มหรือไม่มีเข็มก็ตาม ที่ชื่อว่า ประคดเอว ได้แก่ ประคดเอว ๒ ชนิด คือ (๑) ประคดเอวผ้า (๒) ประคดเอวไส้สุกร คำว่า เอาไปซ่อน คือ ภิกษุเอาไปซ่อนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ใช้ให้เอาไปซ่อน คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้เอาไปซ่อน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ซ่อนหลายครั้ง ภิกษุผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น คือ ภิกษุประสงค์จะเล่น
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๘๐] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน เอาบาตร หรือจีวร หรือ ผ้าปูนั่ง หรือกล่องเข็ม หรือประคดเอวไปซ่อน หรือใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้ มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ เอาบาตร หรือจีวร หรือผ้าปูนั่ง หรือกล่องเข็ม หรือประคดเอวไปซ่อน หรือใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน เอาบาตร หรือจีวร หรือผ้าปูนั่ง หรือกล่องเข็ม หรือประคดเอวไปซ่อน หรือใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุเอาบริขารอื่นไปซ่อน หรือใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเอาบาตร หรือจีวร หรือบริขารอื่นของอนุปสัมบันไปซ่อน หรือใช้ให้เอา ไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค รวมสิกขาบทที่มีในสุราปานวรรค

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๓๘๑] ๑. ภิกษุไม่ประสงค์จะล้อเล่น ๒. ภิกษุเก็บบริขารที่ผู้อื่นวางไว้ไม่ดี ๓. ภิกษุเก็บไว้ด้วยหวังจะสั่งสอนแล้วคืนให้ ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
จีวรอปนิธานสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สุราปานวรรคที่ ๖ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในสุราปานวรรค
สุราปานวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. สุราปานสิกขาบท ว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย ๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท ว่าด้วยการใช้นิ้วมือจี้กันและกัน ๓. หัสสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการเล่นน้ำ ๔. อนาทริยสิกขาบท ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อต่อคำตักเตือน ๕. ภิงสาปนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ตกใจ ๖. โชติกสิกขาบท ว่าด้วยการก่อไฟผิง ๗. นหานสิกขาบท ว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัย ๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท ว่าด้วยการทำจีวรใหม่ให้เสียสี ๙. วิกัปปนสิกขาบท ว่าด้วยการวิกัปจีวร ๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนจีวร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๙๗-๕๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=96              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=12525&Z=12599                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=627              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=627&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9641              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=627&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9641                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc60/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc60/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :