ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๒] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย (คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็น คนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบัน ผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุกๆ คำพูด อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่ง ถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุกๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

ถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัก สาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคน เทขยะว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุกๆ คำพูด อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง) ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุกๆ คำพูด
๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อ
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่ดี ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนัก ปราชญ์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็น บัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุกๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๓] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มี ภิกษุบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคน เทขยะ” ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๒๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเธอไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติ ทุพภาสิตทุกๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคน จัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็น ธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุกๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเรา ไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุกๆ คำพูด


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๑๙-๒๒๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=5855&Z=6292                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=246              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=246&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=246&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc2/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pc2:2.7.0



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :