ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๑๐. กยวิกกยสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. โกสิยวรรค
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท
ว่าด้วยการซื้อขาย
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรชำนาญ การตัดเย็บจีวร ท่านได้เอาผ้าเก่าๆ ทำสังฆาฏิแล้วย้อม จัดแต่งอย่างดีแล้วใช้ห่ม สมัยนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งห่มผ้าราคาแพงเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับท่านว่า “สังฆาฏิของท่านงามจริงๆ แลกกับผ้าของ เราเถิด” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ท่านจงรู้เองเถิด” ปริพาชกตอบว่า “ข้าพเจ้ารู้ ขอรับ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตกลงให้ไป ปริพาชกห่มสังฆาฏิผืนนั้นไปปริพาชการาม ปริพาชกทั้งหลายถามปริพาชกนั้นว่า “สังฆาฏิของท่านงามจริงๆ ท่านได้มาแต่ไหน” เขาตอบว่า “ข้าพเจ้าเอาผ้านั้นแลกมา” พวกปริพาชกกล่าวว่า “สังฆาฏิผืนนี้จะทนอยู่ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นดีกว่า” สมัยนั้น ปริพาชกนั้นคิดว่า “ปริพาชกทั้งหลายกล่าวจริง สังฆาฏิผืนนี้จะทนอยู่ ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นดีกว่า” จึงกลับไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึง แล้วได้กล่าวกับท่านว่า “เอาสังฆาฏิของท่านไป จงให้ผ้าของเราคืนมา” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เรากล่าวกับท่านแล้วมิใช่หรือว่า ‘ท่าน จงรู้เองเถิด’ เราจะไม่ให้” ปริพาชกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “แม้พวกคฤหัสถ์ยังคืนของให้ คฤหัสถ์ผู้เดือดร้อน บรรพชิตไม่ยอมคืนของให้บรรพชิตด้วยกันหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๑๐. กยวิกกยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พวกภิกษุได้ยินปริพาชกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงทำ การซื้อขายกับปริพาชกเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่าเธอทำการซื้อขายกับ ปริพาชก จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงทำการซื้อขายกับ ปริพาชกเล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๙๔] ก็ ภิกษุใดทำการซื้อขายมีประการต่างๆ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๙๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้ชำระฟันหรือด้ายชายผ้า คำว่า ทำการซื้อขาย คือ ภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า “ท่านจงให้ของสิ่งนี้ ด้วยของนี้ นำของสิ่งนี้มาด้วยของนี้ แลกเปลี่ยนของสิ่งนี้ด้วยของนี้ จ่ายของสิ่งนี้ด้วย ของนี้” ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๑๐. กยวิกกยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ก็ต่อเมื่อสิ่งของของตนตกไปอยู่ในมือของคนอื่น และสิ่งของของคนอื่นตกมา อยู่ในมือของตนจัดเป็นการซื้อขายกัน เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมได้ทำการ ซื้อขายมีประการต่างๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่ สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ ครั้นรับอาบัติแล้ว พึงคืนสิ่งของที่เธอสละให้ ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิ่งของนี้ของภิกษุชื่อนี้ เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สิ่งของนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทำการ ซื้อขายมีประการต่างๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่ ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสิ่งของที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สิ่งของนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สิ่งของนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ กระผมทำการซื้อขายมีประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๑๐. กยวิกกยสิกขาบท อนาปัตติวาร

ต่างๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ แล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับพึงรับอาบัติแล้วคืนสิ่งของที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน สิ่งของนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๙๖] เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นการซื้อขาย ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ เป็นการซื้อขาย ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เป็นการซื้อขาย ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นการซื้อขาย ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เป็นการซื้อขาย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๙๗] ๑. ภิกษุถามราคา ๒. ภิกษุบอกกัปปิยการก ๓. ภิกษุกล่าวว่า “เรามีของนี้ แต่เราต้องการของนี้ และนี้” ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
กยวิกกยสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค

รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค
โกสิยวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตใยไหม ๒. สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน ๓. เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน ๔. ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี ๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง ๖. เอฬกโลมสิกขาบท ว่าด้วยการรับขนเจียม ๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม ๘. รูปิยสิกขาบท ว่าด้วยการรับรูปิยะ ๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ ๑๐. กยวิกกยสิกขาบท ว่าด้วยการซื้อขาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๑๗-๑๒๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=20              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=2807&Z=2944                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=113              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=113&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4991              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=113&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4991                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np20/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :