ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๑. กัลยาณมิตตสูตร

๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยเอกธัมมเปยยาล
๑. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร
[๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก๑- มีอุปการะมาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ กัลยาณมิตตตา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรค มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’ ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ฯลฯ ๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”
กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมอันเป็นเอก ในที่นี้หมายถึงธรรมที่มีสภาวะเป็นหนึ่ง (เอกสภาวะ) ศัพท์ว่า ธรรม นี้มีความหมายว่า @สภาวะ ดุจในคำว่า กุสลา ธมฺมา (สภาวะที่เป็นกุศล) เป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๙๖/๔๑๘, @องฺ.เอกก.ฏีกา ๑/๒๙๖/๒๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น
[๖๔-๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก มีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริย- มรรคมีองค์ ๘ ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ สีลสัมปทา ฯลฯ คือ ฉันทสัมปทา ฯลฯ คือ อัตตสัมปทา ฯลฯ คือ ทิฏฐิสัมปทา ฯลฯ คือ อัปปมาทสัมปทา ฯลฯ
สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา
[๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ ... คือ โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการมนสิการโดย แยบคาย) ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรค มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’ ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๘. กัลยาณมิตตสูตร

๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”
โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗ จบ
๘. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร
[๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก มีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค มีองค์ ๘ ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ กัลยาณมิตตตา ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย- มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’ ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”
กัลยาณมิตตสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น
[๗๑-๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก มีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค มีองค์ ๘ ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ สีลสัมปทา ฯลฯ คือ ฉันทสัมปทา ฯลฯ คือ อัตตสัมปทา ฯลฯ คือ ทิฏฐิสัมปทา ฯลฯ คือ อัปปมาทสัมปทา ฯลฯ
สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๙-๑๓ จบ
๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา
[๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “... คือ โยนิโสมนสิการสัมปทา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’ ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”
โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔ จบ
เอกธัมมเปยยาลวรรคที่ ๗ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กัลยาณมิตตสูตร ๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. กัลยาณมิตตสูตร ๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๘-๕๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=43              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=795&Z=904                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=147              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=147&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4305              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=147&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4305                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i147-e.php# https://suttacentral.net/sn45.63/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.63/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.64-68/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.64-68/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.69/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.69/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.70/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.70/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.71-75/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.71-75/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.76/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.76/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :