ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๒. ปปาตสูตร
ว่าด้วยเหวคือสังสารวัฏ
[๑๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง ราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เราจักเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดนเพื่อพักผ่อนกลางวัน” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย ภิกษุจำนวนมากเสด็จเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดน ภิกษุรูปหนึ่งได้แลเห็นเหวใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๒๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๕. ปปาตวรรค ๒. ปปาตสูตร

บนยอดเขากั้นเขตแดน จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหวนี้ใหญ่หนอ เหวนี้ใหญ่จริงหนอ เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้มีอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เหวอื่นที่ใหญ่และน่ากลัวกว่าเหวนี้มีอยู่ ภิกษุ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้ เป็นอย่างไร” “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตามความเป็น จริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา’ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ยินดียิ่งในสังขารทั้ง หลายที่เป็นไปเพื่อชรา ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อมรณะ ยินดียิ่งในสังขาร ทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชรา ผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่ เป็นไปเพื่อมรณะ ผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติบ้าง ย่อมปรุง แต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราบ้าง ย่อมปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อ มรณะบ้าง ย่อมปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติก็ดี ครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราก็ดี ครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็น ไปเพื่อมรณะก็ดี ครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ดี ย่อมตกไปสู่เหวคือชาติบ้าง ตกไปสู่เหวคือชราบ้าง ตก ไปสู่เหวคือมรณะบ้าง ตกไปสู่เหวคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๒๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๕. ปปาตวรรค ๓. มหาปริฬาหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็น จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อม ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไป เพื่อชรา ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อมรณะ ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้ง หลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่ปรุงแต่ง สังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติบ้าง ไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราบ้าง ไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อมรณะบ้าง ไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็น ไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติก็ดี ครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราก็ดี ครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย ที่เป็นไปเพื่อมรณะก็ดี ครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ดี ย่อมไม่ตกไปสู่เหวคือชาติบ้าง ไม่ตกไปสู่เหวคือชราบ้าง ไม่ตกไปสู่เหวคือมรณะบ้าง ไม่ตกไปสู่เหวคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าพ้นจากทุกข์’ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปปาตสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๖๒๓-๖๒๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=422              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10573&Z=10600                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1728              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1728&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8368              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1728&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8368                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn56/sn56.042.than.html https://suttacentral.net/sn56.42/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.42/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :