ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๑. ราควิราคสูตร

๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอัญญติตถิยเปยยาล
๑. ราควิราคสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะ
[๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์๑- ปริพาชกพึงถาม เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน พระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์- ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาคเพื่อสำรอกราคะ’ อนึ่ง ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะอยู่หรือ’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทา เพื่อสำรอกราคะอยู่’ มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะ เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้คือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้”
ราควิราคสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ อัญเดียรถีย์ คือ ผู้ถือลัทธินอกพระพุทธศาสนา เป็นนักบวชผู้ถือลัทธิอื่น (วิ.อ. ๓/๑๓๒/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๒-๗. สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะ

๒-๗. สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตร มีสังโยชนปหานสูตรเป็นต้น
[๔๒-๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ ต้องการอะไร’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อละสังโยชน์๑- ฯลฯ ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ ถอนอนุสัย๒- ฯลฯ ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ กำหนด รู้อัทธานะ (ทางไกล) ฯลฯ ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ ความสิ้นอาสวะ๓- ฯลฯ ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ ทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ๔- ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ (๑) สักกายทิฏฐิ (๒) วิจิกิจฉา @(๓) สีลัพพตปรามาส (๔) กามฉันทะหรือกามราคะ (๕) พยาบาทหรือปฏิฆะ (๖) รูปราคะ (๗) อรูปราคะ (๘) มานะ @(๙) อุทธัจจะ (๑๐) อวิชชา (สํ.ม.อ. ๓/๑๗๖-๑๘๑/๒๐๓, สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑) @ อนุสัย ได้แก่ อนุสัย ๗ คือ (๑) กามราคะ (๒) ปฏิฆะ (๓) ทิฏฐิ (๔) วิจิกิจฉา (๕) มานะ (๖) ภวราคะ @(๗) อวิชชา (ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๑/๑๗) @ อาสวะ ได้แก่ อาสวะ ๔ คือ (๑) กามาสวะ (๒) ภวาสวะ (๓) ทิฏฐาสวะ (๔) อวิชชาสวะ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๙๔/๒๔๘, สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔) @ ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๔-๕๗๐/๔๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร

‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ ญาณทัสสนะ๑- ฯลฯ
สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะที่ ๒-๗ จบ
๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
[๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน พระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญเดียรถีย์- ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาคเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (ความดับไม่มีเชื้อ)’ อนึ่ง ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพานอยู่หรือ’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบว่า ‘ท่านทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทา เพื่ออนุปาทาปรินิพพานอยู่’ มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้คือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน @เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรคผล @กิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้”
อนุปาทาปรินิพพานสูตรที่ ๘ จบ
อัญญติตถิยเปยยาลวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ราควิราคสูตร ๒-๗. สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะ ๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๙-๔๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=41              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=608&Z=678                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=117              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=117&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4286              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=117&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4286                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i117-e.php# https://suttacentral.net/sn45.41/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.41/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.42-47/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.42-47/en/bodhi https://suttacentral.net/sn45.48/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.48/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :