ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร

๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ๑- สูตรที่ ๑
[๑๐๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์ สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรง พยากรณ์ท้าวเธอว่า “เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ สัมโพธิในวันข้างหน้า” ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์มาประชุมพร้อม กันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรณานิศากยะ สวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้าสรณานิศากยะถึง ความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์” ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดัง นี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระ องค์มาประชุมพร้อมกันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ‘ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้าสรณานิศากยะถึงความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร บุคคลเมื่อจะกล่าว ให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอุบาสกนั้นใดว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ @เชิงอรรถ : @ บางแห่งใช้คำว่า สรกานิ หรือ สรกาณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๒๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร

เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง ก็พึงกล่าวถึงเจ้าศากยะ พระนามว่าสรณานิว่า ‘เป็นอุบาสก ผู้ทรงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ พระองค์จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ มีหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) มีชวนปัญญา (ปัญญาแล่นไป) และถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ในปัจจุบัน แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิ แห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา แต่ไม่ ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึงเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวน กลับมาจากโลกนั้นอีก แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๓๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร

ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึงเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะ บรรเทาราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางได้ แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๔. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึงเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๕. ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขา มีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อม ควรแก่การพิจารณาด้วยปัญญาโดยประมาณ แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไป สู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๖. ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๓๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร

หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขา มีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และเขามี ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณในพระตถาคต แม้ บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต มหาบพิตร แม้หากต้นสาละใหญ่เหล่านี้พึงรู้จักคำสุภาษิต คำทุพภาษิต อาตมภาพก็จะพยากรณ์ต้นสาละใหญ่เหล่านี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเจ้าสรณานิศากยะ เลย เพราะเจ้าสรณานิศากยะได้สมาทานสิกขาบทในเวลาจะสวรรคต”
ปฐมสรณานิสักกสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๒๙-๕๓๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=342              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=8941&Z=8996                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1527              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1527&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8040              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1527&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8040                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn55/sn55.024.wlsh.html https://suttacentral.net/sn55.24/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :