ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร

๓. สรณานิวรรค
หมวดว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ
๑. ปฐมมหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๑
[๑๐๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรุงกบิลพัสดุ์นี้มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคหรือภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ เวลาเย็น เข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พบเห็นช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง เกวียนบ้าง ผู้คนบ้าง ที่พลุกพล่านขวักไขว่ สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติปรารภพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ หม่อมฉันคิดว่า ‘หากเราถึงแก่กรรมในเวลานี้ คติของเรา จะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม มหาบพิตร จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ที่ได้เจริญด้วยศีล ที่ได้เจริญ ด้วยสุตะ ที่ได้เจริญด้วยจาคะ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน กายนี้ ของผู้นั้นคุมกันเป็นรูปร่างที่ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส๑- ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอัน แตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กาบ้าง แร้งบ้าง นกตะกรุมบ้าง สุนัขบ้านบ้าง สุนัขจิ้งจอกบ้าง สัตว์หลายชนิดบ้าง ย่อมกัดกินกายนี้ ส่วนจิตของผู้นั้นที่ได้เจริญ ด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน ย่อมสูงขึ้นไปจนถึง บรรลุคุณวิเศษ @เชิงอรรถ : @ ขนมกุมมาส หมายถึงขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะบูด เช่น ขนมด้วง ขนมครก ขนมถ้วย ขนมตาล เป็นต้น @พระพุทธเจ้าหลังบำเพ็ญทุกรกิริยาก็เสวยข้าวสุกและขนมกุมมาส (พระธรรมปิฎก : พจนานุกรมพุทธศาสน์ @ฉบับประมวลศัพท์, ๒๕๓๘, หน้า ๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๒๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๒.ทุติยมหานามสูตร

มหาบพิตร บุรุษดำลงในห้วงน้ำลึกแล้วทุบหม้อเนยใสหรือหม้อน้ำมัน ก้อน กรวดหรือกระเบื้องหม้อนั้นพึงจมลง ส่วนเนยใสหรือน้ำมันในหม้อนั้นพึงลอยขึ้น เหนือน้ำ แม้ฉันใด จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญ ด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน กายนี้ของผู้นั้นคุมกันเป็นรูปร่างที่ประกอบขึ้น จากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กาบ้าง แร้งบ้าง นกตะกรุมบ้าง สุนัขบ้านบ้าง สุนัขจิ้งจอกบ้าง สัตว์หลายชนิดบ้าง ย่อมกัดกินกายนี้ ส่วนจิตของผู้นั้นที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วย ปัญญามาเป็นเวลานาน ย่อมสูงขึ้นไปจนถึงบรรลุคุณวิเศษ แต่จิตของพระองค์ที่ได้ เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานานก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์ จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม”
ปฐมมหานามสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๒๒-๕๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=339              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=8824&Z=8853                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1507              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1507&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8017              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1507&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8017                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn55/sn55.021.than.html https://suttacentral.net/sn55.21/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :