ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๑๐. กิมิลสูตร
ว่าด้วยพระกิมิละ
[๙๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระกิมิละมาตรัสถามว่า “กิมิละ อานาปานสติ สมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๑/๑๖๒-๑๖๕/๑๓๔-๑๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๖๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระกิมิละได้นิ่งเฉย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระกิมิละมาตรัสถามว่า “กิมิละ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระกิมิละก็ได้นิ่งเฉย เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติ- สมาธิ ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติสมาธิ ภิกษุทั้ง หลายได้สดับจากพระองค์แล้วจักทรงจำไว้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา เห็นความสละคืน หายใจออก อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อ หายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัด ว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้ แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๖๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร

เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ ลมหายใจเข้าและลมหายใจ ออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกได้ ๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้ง จิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจ ออก สำเนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจ เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวการเจริญอานาปานสติสมาธิไว้ สำหรับผู้หลง ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๖๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๑. เอกธัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจ เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจ เข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกได้ อานนท์ ดินกองใหญ่ที่ถนนใหญ่ ๔ แยก ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศ ตะวันออก ก็จะกระทบดินกองนั้น ถ้าผ่านมาทางทิศตะวันตก ... ถ้าผ่านมาทาง ทิศเหนือ ... ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศใต้ ก็จะกระทบดินกองนั้น แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เมื่อพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ เมื่อพิจาณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
กิมิลสูตรที่ ๑๐ จบ
เอกธัมมวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอกธัมมสูตร ๒. โพชฌังคสูตร ๓. สุทธิกสูตร ๔. ปฐมผลสูตร ๕. ทุติยผลสูตร ๖. อริฏฐสูตร ๗. มหากัปปินสูตร ๘. ปทีโปปมสูตร ๙. เวสาลีสูตร ๑๐. กิมิลสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๖๕-๔๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=308              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7841&Z=7916                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1355              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1355&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7640              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1355&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7640                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn54.10/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :