ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๗. อานาปานวรรค (๑) อัญญตรผลสูตร

๗. อานาปานวรรค
หมวดว่าด้วยอานาปานสติ
๑. อัฏฐิกมหัปผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลมาก
[๒๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพ ที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างนี้แล”
(๑) อัญญตรผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผล อย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นพระอนาคามี เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ อนาคามี อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๗. อานาปานวรรค (๒) มหัตถสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จัก เป็นพระอนาคามี อย่างนี้แล”
(๒) มหัตถสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก๑- อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก อย่างนี้แล” @เชิงอรรถ : @ ประโยชน์มาก ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ อีกนัยหนึ่ง หมายถึงสามัญญผล ๔ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๔-๕๗๐/๔๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๗. อานาปานวรรค (๔) สังเวคสูตร

(๓) โยคักเขมสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาก๑- อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาก อย่างนี้แล”
(๔) สังเวคสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อความสังเวช
“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสังเวชมาก๒- อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก อย่างไร @เชิงอรรถ : @ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาก หมายถึงสามัญญผล ๔ อีกนัยหนึ่ง หมายถึงนิพพาน @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๔-๕๗๐/๔๗๒) @ สังเวชมาก ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงมรรคแห่งวิปัสสนา @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๔-๕๗๐/๔๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๗. อานาปานวรรค ๒. ปุฬวกสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสังเวชมาก อย่างนี้แล”
(๕) ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก
“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความอยู่ผาสุกมาก อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุกมาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความอยู่ผาสุกมาก อย่างนี้แล”
อัฏฐิกมหัปผลสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปุฬวกสูตร
ว่าด้วยปุฬวกสัญญา
[๒๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอนคลา คล่ำเต็มไปหมด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
ปุฬวกสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๗. อานาปานวรรค ๗. กรุณาสูตร

๓. วินีลกสูตร
ว่าด้วยวินิลกสัญญา
[๒๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ คละด้วยสีต่างๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
วินีลกสูตรที่ ๓ จบ
๔. วิจฉิททกสูตร
ว่าด้วยวิจฉิททกสัญญา
[๒๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน เป็นท่อนๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
วิจฉิททกสูตรที่ ๔ จบ
๕. อุทธุมาตกสูตร
ว่าด้วยอุทธุมาตกสัญญา
[๒๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่เน่าพอง ขึ้นอืด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อุทธุมาตกสูตรที่ ๕ จบ
๖. เมตตาสูตร
ว่าด้วยเมตตา
[๒๔๓] “ภิกษุทั้งหลาย เมตตาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
เมตตาสูตรที่ ๖ จบ
๗. กรุณาสูตร
ว่าด้วยกรุณา
[๒๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย กรุณาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
กรุณาสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๘. นิโรธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. มุทิตาสูตร
ว่าด้วยมุทิตา
[๒๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย มุทิตาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
มุทิตาสูตรที่ ๘ จบ
๙. อุเบกขาสูตร
ว่าด้วยอุเบกขา
[๒๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อุเบกขาสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อานาปานสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติ
[๒๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อานาปานสูตรที่ ๑๐ จบ
อานาปานวรรคที่ ๗ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัฏฐิกมหัปผลสูตร ๒. ปุฬวกสูตร ๓. วินีลกสูตร ๔. วิจฉิททกสูตร ๕. อุทธุมาตกสูตร ๖. เมตตาสูตร ๗. กรุณาสูตร ๘. มุทิตาสูตร ๙. อุเบกขาสูตร ๑๐. อานาปานสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๘. นิโรธวรรค ๔. อนภิรติสูตร

๘. นิโรธวรรค
หมวดว่าด้วยนิโรธ
๑. อสุภสูตร
ว่าด้วยอสุภสัญญา
[๒๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา (ความหมายรู้ความไม่งาม) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อสุภสูตรที่ ๑ จบ
๒. มรณสูตร
ว่าด้วยมรณสัญญา
[๒๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา (ความหมายรู้ความตาย) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
มรณสูตรที่ ๒ จบ
๓. อาหาเรปฏิกูลสูตร
ว่าด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญา
[๒๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา (ความหมายรู้ความปฏิกูลในอาหาร) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อาหาเรปฏิกูลสูตรที่ ๓ จบ
๔. อนภิรติสูตร
ว่าด้วยอนภิรติสัญญา
[๒๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรติสัญญา (ความหมายรู้ความไม่น่า เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อนภิรติสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๘. นิโรธวรรค ๘. ปหานสูตร

๕. อนิจจสูตร
ว่าด้วยอนิจจสัญญา
[๒๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา(ความหมายรู้ความไม่เที่ยง) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
อนิจจสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุกขสูตร
ว่าด้วยทุกขสัญญา
[๒๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสัญญา(ความหมายรู้ความเป็นทุกข์) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
ทุกขสูตรที่ ๖ จบ
๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยอนัตตสัญญา
[๒๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญา (ความหมายรู้ความเป็นอนัตตา) ที่บุคคล เจริญแล้ว ฯลฯ
อนัตตสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปหานสูตร
ว่าด้วยปหานสัญญา
[๒๕๕] “ภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา (ความหมายรู้การละ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
ปหานสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๘. นิโรธวรรค ๑๐. นิโรธสูตร

๙. วิราคสูตร
ว่าด้วยวิราคสัญญา
[๒๕๖] “ภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา (ความหมายรู้วิราคะ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ
วิราคสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. นิโรธสูตร
ว่าด้วยนิโรธสัญญา
[๒๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา (ความหมายรู้นิโรธ) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็น พระอนาคามี เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ อนาคามี อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๘. นิโรธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี อย่างนี้แล นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อความอยู่ผาสุกมาก นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อความอยู่ ผาสุกมาก อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์มาก เพื่อธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อความอยู่ผาสุกมาก อย่างนี้แล”
นิโรธสูตรที่ ๑๐ จบ
นิโรธวรรคที่ ๘ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสุภสูตร ๒. มรณสูตร ๓. อาหาเรปฏิกูลสูตร ๔. อนภิรติสูตร ๕. อนิจจสูตร ๖. ทุกขสูตร ๗. อนัตตสูตร ๘. ปหานสูตร ๙. วิราคสูตร ๑๐. นิโรธสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๙๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=129              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=3640&Z=3778                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=641              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=641&items=31              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=5342              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=641&items=31              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=5342                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.57/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.57/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.58/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.58/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.59/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.59/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.60/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.60/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.61/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.61/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.62/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.62/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.63/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.63/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.64/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.64/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.65/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.65/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.66/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.66/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.67/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.67/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.68/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.68/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.69/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.69/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.70/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.70/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.71/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.71/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.72/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.72/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.73/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.73/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.74/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.74/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.75/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.75/en/woodward https://suttacentral.net/sn46.76/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.76/en/woodward



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :