ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๐. ทุติยทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ ๒
[๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันวิญญาณจึงเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร

เพราะอาศัยธรรมคู่กัน วิญญาณจึงเกิดขึ้น อย่างไร คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น จักขุไม่เที่ยง มีความ แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น จักขุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้ เรียกว่าจักขุสัมผัส แม้จักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย อาการอื่น ก็จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูกผัสสะ กระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดขึ้น ชิวหาไม่เที่ยง มีความ แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รสไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้ เรียกว่าชิวหาสัมผัส แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ โดยอาการอื่น ก็ชิวหาสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูก ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความ แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร

เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น มโนไม่เที่ยง มี ความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ โดยอาการอื่น ธรรมคู่กันนี้หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ โดยอาการอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้ เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย อาการอื่น ก็มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้ เรียกว่ามโนสัมผัส แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย อาการอื่น ก็มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูก ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความ แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันนี้แล วิญญาณจึงเกิดขึ้น”
ทุติยทวยสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉันนวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปโลกธัมมสูตร ๒. สุญญตโลกสูตร ๓. สังขิตตธัมมสูตร ๔. ฉันนสูตร ๕. ปุณณสูตร ๖. พาหิยสูตร ๗. ปฐมเอชาสูตร ๘. ทุติยเอชาสูตร ๙. ปฐมทวยสูตร ๑๐. ทุติยทวยสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๙๔-๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=73              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1690&Z=1744                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=124              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=124&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=643              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=124&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=643                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i101-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.093.than.html https://suttacentral.net/sn35.93/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.93/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :