ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร
ว่าด้วยพระอุปเสนะถูกพิษงู
[๖๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอุปเสนะอยู่ที่เงื้อมเขาชื่อสัปป- โสณฑิกะ ป่าสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น งูตัวหนึ่งได้หล่นลงมาที่กายของท่าน พระอุปเสนะ ครั้งนั้น ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย ช่วยกันยกกายของกระผมนี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ย รายในที่นี้เหมือนกำแกลบ” เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวกับท่านว่า “พวกเรายังไม่เห็นกายของท่านอุปเสนะเป็นอย่างอื่นหรืออินทรีย์ของท่านแปรผันไปเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านอุปเสนะยังพูดว่า ‘มาเถิด ท่านทั้งหลายช่วยกันยกกายของกระผม นี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้เหมือนกำแกลบ” @เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้หมายถึงสภาพที่จะต้องแตกสลายไป (สํ.สฬา.อ. ๓/๖๘/๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๕๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความคิดว่า ‘เราเป็นจักขุ’ หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหาเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กายของผู้นั้นเป็นอย่าง อื่นหรือความที่อินทรีย์ของผู้นั้นแปรผันพึงมีอย่างแน่นอน กระผมไม่มีความนึกคิด เลยว่า ‘เราเป็นจักขุ’ หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหา เป็นของเรา’ ... ‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กาย ของกระผมเป็นอย่างอื่นหรือความที่อินทรีย์ของกระผมแปรผัน จักมีได้อย่างไร” จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ๑- มมังการ๒- และมานานุสัย (กิเลส ที่นอนเนื่องคือความถือตัว) ได้เด็ดขาดนานมาแล้ว ฉะนั้นท่านพระอุปเสนะจึงไม่มี ความคิดว่า “เราเป็นจักขุ” หรือ “จักขุเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นชิวหา” หรือ “ชิวหาเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นมโน” หรือ “มโนเป็นของเรา” ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้ยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้าง นอก ขณะนั้น กายของท่านพระอุปเสนะก็เรี่ยรายในที่นั้นเองเหมือนกำแกลบ
อุปเสนอาสีวิสสูตรที่ ๗ จบ
๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะทูลถามธรรมที่พึงเห็นเอง
[๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็น ธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓- ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” @เชิงอรรถ : @ อหังการ หมายถึงทิฏฐิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ มมังการ หมายถึงตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา @ทุกโอกาส ปฏิบัติเมื่อใด ก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๕๘-๕๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=49              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=885&Z=907                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=77              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=77&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=342              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=77&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=342                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i066-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.069.than.html https://suttacentral.net/sn35.69/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.69/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :