ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมาย สูตรที่ ๑
[๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ๑- แก่การเพิกถอน ความกำหนดหมายทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวงนั้น เป็น อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่กำหนดหมายจักขุ ไม่กำหนดหมายในจักขุ ไม่กำหนดหมายเพราะจักขุ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’ ไม่กำหนดหมายรูป @เชิงอรรถ : @ เป็นสัปปายะ หมายถึงมีประโยชน์ก่อให้เกิดความเจริญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๒/๙๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร

ฯลฯ ไม่กำหนดหมายจักขุวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายจักขุสัมผัส ... ไม่กำหนด หมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง ฯลฯ ไม่กำหนดหมายชิวหา ไม่กำหนดหมายในชิวหา ไม่กำหนดหมายเพราะชิวหา ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’ ไม่กำหนดหมายรส ฯลฯ ไม่กำหนดหมาย ชิวหาวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายชิวหาสัมผัส ... ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิด ขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง ฯลฯ ไม่กำหนดหมายมโน ไม่กำหนดหมายในมโน ไม่กำหนดหมายเพราะมโน ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’ ไม่กำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ ไม่กำหนดหมาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร

มโนวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายมโนสัมผัส ... ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย ว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ อนึ่ง ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง ไม่กำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่กำหนดหมายใน ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่กำหนดหมายแม้เพราะขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่กำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และอายตนะนั้นของเรา’ ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่ จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก ต่อไป’ ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย ทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”
ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๒-๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=453&Z=479                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=34              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=34&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=257              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=34&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=257                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i024-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/sn35.31/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.31/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :